หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
::ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ
:: วัยรุ่นกับการเจริญเติบโตฯ
:: ตัวอย่างข้อสอบ

คำแนะนำ >> เลือกเรื่องย่อยของหน่วยการเรียนรู้เมนูด้านซ้าย

ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบประสาทที่มีผลต่อวัยรุ่น
              1.  ความสำคัญของระบบประสาท
                   ระบบประสาท  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ทุกระบบในร่างกายให้ประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ
                   1.  ระบบประสาทส่วนกลาง 
                   2.  ระบบประสาทส่วนปลาย
              1.  ระบบประสาทส่วนกลาง  ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง
                   1.1  สมอง  เป็นอวัยวะที่สลับซับซ้อนมากประกอบด้วยกลุ่มของเนื้อเยื้อที่มีความอ่อนนุ่ม  บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                        1)  สมองส่วนหน้า 
                        2) สมองส่วนกลาง
                        3)  สมองส่วนท้าย
                            สมองส่วนหน้า  ประกอบด้วย  4  ส่วนทำหน้าที่ดังนี้
                                 1. ซีรีบรัม  ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูด  การมองเห็น  การได้ยิน  การเรียนรู้  สติปัญญา  ความคิด  ความจำ
                                 2.  ออลแฟกทอรีบัลบ์  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
                                 3.  ทาลามัส  ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาท  แล้วถ่ายทอด  สัญญาณส่งไปยังสมองส่วนต่าง ๆ
                                 4.  ไฮโพทาลามัส  ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทบางชนิด  ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย  เช่นควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  ความดันโลหิต  ความอิ่ม  การนอนหลับ  การเต้นของหัวใจ  ความสมดุลของน้ำในร่างกาย อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ  
                            สมองส่วนกลาง  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น  การกลอกลูกตา  รวมทั้งควบคุมการปิดและเปิดของม่านตาในเวลาที่แสงสว่างมากหรือน้อย
                            สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วย  3  ส่วนดังนี้
                                 1.  เซรีเบลลัม  ทำหน้าที่ควบคุมการประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและระบบกล้ามเนื้อเพื่อให้ทำงานอย่างสมดุล
                                 2.  พอนส์  ทำหน้าควบคุมการทำงานบางอย่าง  เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าเกี่ยวกับการหลับตา  การยิ้ม  การยักคิ้ว  รวมถึงการเคี้ยวและหลั่งน้ำลาย
                                 3.  เมดัลลาออบลองกาตา  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เช่นการหายใจ  การหมุนเวียนโลหิต  การลำเลียงอาหารของลำไส้  การไอ  การจาม
              1.2  ไขสันหลัง  มีหน้าที่สำคัญเท่า ๆ กับสมอง  เป็นส่วนที่ต่อออกจากสมองผ่านมาตามกระดูกสันหลัง  ตลอดความยาวของกระดูกสันหลังจะมีเส้นประสาทแยกออกและแผ่ขยายออกไปครอบคลุมเกือบทุกส่วนของร่างกาย  เพื่อรับข้อมูลจากอวัยวะต่าง ๆ ไปสู่สมอง  และในขณะเดียวกันก็จะนำคำสั่งจากสมองไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย  นอกจากนี้ยังสามารถ  ควบคุมปฏิกิริยาตอบสนอง  ที่เรียกว่า  ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ 
              2.  ระบบประสาทส่วนปลาย
                   ทำหน้าที่เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานร่วมกันได้  ประกอบด้วย
                   2.1  เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
                        2.1.1  เส้นประสาทสมอง  บางคู่จะทำหน้าที่รับความรู้สึก  บางคู่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว  บางคู่ทำทั้งสองอย่าง
                        2.1.2  เป็นเส้นประสาทที่แผ่ออกจาไขสันหลัง  ทำหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการเคลื่อนไหว
                   2.2  ระบบประสาทอัตโนมัติ  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานควบคุมการไหลเวียนของโลหิต  การย่อยอาหาร  การหายใจ  อวัยวะสืบพันธุ์  และการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย  และยังควบคุมการทำงานของต่อมต่าง ๆ ด้วย  ระบบประสาทอัตโนมัติ  แบ่งเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
                        2.2.1  ระบบประสาทซิมพาเทติก  เป็นระบบประสาทที่มีการทำงานแบบเกิดขึ้นทันทีทันใด  หรือขณะที่ตื่นเต้น  ภาวะฉุกเฉิน  หรือระยะเจ็บป่วย
                        2.2.2  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน  เส้นเลือด  ต่อมต่าง ๆ  ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้เป็นปกติ  เช่น  ทำให้หัวใจเต้นช้าลง  เส้นเลือดคลายตัว  เป็นต้น
              ระบบประสาททั้งสองส่วนนี้จะทำงานตรงข้ามกันเพื่อสร้างความสมดุลในร่างกาย  เช่น  ขณะที่เราโกรธหรือกลัว  ระบบประสาทซิมพาเทติก  จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว  หายใจถี่  ม่านตา  ขยายออก  ผิวซีด  เพื่อเตรียมสู้หรือหนี  ในขณะที่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก  จะเข้ามาช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติ  เช่น  ชีพจรและความดันเลือดลดลง  เป็นต้น
              2.  การดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ
                   การดูแลรักษาการทำงานของระบบประสาท  สามารถทำได้ดังนี้
                        1.  หมั่นสำรวจและดูแลสุขภาตนเองอย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจสมรรถภาพที่เกี่ยวกับอวัยวะที่รับความรู้สึกของระบบประสาท  เช่น  การตรวจสายตา  การทดสอบการได้ยิน  เป็นต้น
                        2.  การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                        3.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  เช่น  ผัก  ผลไม้  ซึ่งมีวิตามินสูง
                        4.  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  หรืออาหารประเภททอด  ตลอดจนอาหารที่ไม่มีประโยชน์
                        5.  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม  แอลกอฮอล์  ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ  ได้
                        6.  ถนอมและบำรุงรักษาอวัยวะต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องเช่น
                            6.1  หลีกเลี่ยงการใช้สายตาที่ซึ่งมีแสงสว่างไม่เพียงพอ
                             6.2  ไม่ควรใช้สายตาจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน  เพราะจะทำให้สายตาล้าและปวดตา
                            6.3  ระวังการแคะหู  การเจาะลิ้น  ใส่หมุดตามแฟชั่น  การแคะจมูก 
ซึ้งอาจทำให้ติดเชื้อได้
                        7.  พักผ่อนให้เพียงพอ  ทำกิจกรรมคลายเครียด  เช่น  ออกกำลังกาย  เล่นกีฬา  ฝึกสมาธิ  ทำงานอดิเรก
                        8.  หากมีความรู้สึกผิดปกติของอวัยวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท 
ควรรีบไปพบแพทย์  เพื่อดำเนินการักษาให้ทันท่วงที

ระบบต่อมไร้ท่อที่มีผลต่อวัยรุ่น
              1.  ความสำคัญของระบบต่อมไร้ท่อ
                   ระบบต่อมไร้ท่อ  มีความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึม  การควบคุมปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์  การขนส่งเข้าออกภายในเซลล์  อันมีผลต่อการเจริญเติบโต  การใช้พลังงาน  การสืบพันธุ์  การตอบสนองทางด้านอารมณ์
                   ต่อมไร้ท่อ  ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน  ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลภายในร่างกาย  โดยฮอร์โมนจะถูกขับออกมาจากต่อมต่าง ๆ  เข้าสู่กระแสโลหิตที่ส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ  และเป็นตัวกระตุ้นของร่างกายให้ทำงาน
              1.  ต่อมใต้สมองหรือต่อมพิทูอิทารี  เป็นต่อมที่มีขนาดเล็กที่สุด  และมีความสำคัญมากที่สุด  เพราะฮอร์โมนที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้นมานั้นจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อเกือบทั้งหมด
                   ต่อมใต้สมอง  แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
                        1.1  ต่อมใต้สมองส่วนหน้า  จะผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ  คือ
                            1)  ทรอฟิกฮอร์โมน  เป็นฮอร์โมนที่ควบคุม



กลับสู่ดานบน เข้าสู้เนื้อหา




© copyright 2009 students.ptpk.ac.th