[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ทรงบอลกลับมาแล้ว แต่ “โดนง่าย” ยังคงเดิม  VIEW : 44    
โดย ผผ

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 11
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 2
Exp : 75%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 84.17.39.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 14 เดือน กันยายน พ.ศ.2565 เวลา 10:48:50   

การปลดล็อก 3 แต้มของ ลิเวอร์พูล อาแย็กซ์ ที่ต้องรอชัยชนะแทบวินาทีสุดท้ายไม่มีประเด็นพิสดารอะไรแม้กระทั่งหากท้ายที่สุดต้องจบลงด้วยการแบ่งแต้ม

เพราะการดำเนินเรื่องมันเป็นเส้นตรงคือ “หงส์แดง” ทำให้ตัวเองอยู่ในสถานการณ์ “นั่งไม่ติด” จากความผิดพลาดเดียวของเกมนี้ที่นำมาสู่ประตูตีเสมอผีจับยัดของ โมฮัมเหม็ด คูดุส

ทั้งๆที่ประตูขึ้นนำของ โม ซาลาห์ ตั้งแต่นาทีที่ 17 ควรเป็นการนำร่องลูกแรกที่ต่อมาภายใน 6 นาที หลุยส์ ดิอาซ์ และ ดิโอโก้ โชต้า ควรบวกลูก 2 และ 3 ตุนเอาไว้ก่อนด้วยซ้ำ

การพยายามเล่นช้าและรักษาหลังบ้านของ อาแย็กซ์ เป็นแท็คติกส์ที่ อัลเฟร็ด ชรอยเดอร์ กุนซือเชื่อว่าจะเขี่ย “หงส์แดง” ให้ห่างจากโควต้า 2 อันดับแรกภายในเกมนี้เลย

ดังนั้นลูกโขกนำชัยของ โจเอล มาติ๊ป ทำให้ เดอะ ค็อป ไม่ต้องเข้านอนด้วยความรู้สึก “คาใจ” ต่อโอกาสที่มีในเกมนี้ถึง 20 หน (อาแย็กซ์ 3) โดย 50% มาจากลูกเตะมุมที่เข้าหัวเจ้าถิ่นแทบทุกลูกแต่กลับไม่เป็นประตู

ชัยชนะนัดนี้นอกจากเป็นเรื่องความสำคัญในสนามแล้วเป็นการลดความกดดันภายนอกสนามทั้งของแฟนบอลและความเครียดของนักฟุตบอล/สต๊าฟเยอะมาก

ใช่ครับ เราต้องไม่ลืมว่านี่คือเกมสุดท้ายของเหล่าพลพรรค “หงส์แดง” ในเดือนกันยายนและโผล่อีกทีเจอกันนู่นเลย 1 ตุลาคมในเกมกับ ไบรท์ตัน ที่ แอนฟิลด์

นึกสภาพความเครียดที่เราต้องรอยาวเหยียดถึง 18 วันเพื่อระบายความอัดอั้นมันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเบอร์ไหน

ในอีกทางหนึ่งการเลื่อนโปรแกรมพรีเมียร์ลีก 2 นัดและเบรกทีมชาติถือว่ามาได้ถูกที่ถูกเวลาเนื่องจากทั้ง ธิอาโก้ และ โชต้า ลดความเสี่ยงจากการฝืนรีบลงในเกมกับ วูลฟ์แฮมป์ตัน ก่อน “สอบผ่าน” ในคืนนี้

ทั้งคู่ทำให้เราเห็นความแตกต่างของการมีอยู่และไม่มีอย่างชัดเจนโดยฝ่ายแรกไม่ต้องพูดถึงว่าจังหวะนิดๆหน่อยๆที่เราดูด้วยตาเปล่ามันเหมือนไม่มีอะไร

แต่ตรงนี้แหละครับที่ทำให้ ธิอาโก้ ไม่เหมือนใคร การพลิกข้อเท้าเหมือนเน็ตกระตุกซึ่งเป๊นท่าไม้ตายทำให้จังหวะที่ธรรมดากลายเป็นโอกาสทำประตูอย่างเช่นนาที 23 ที่ โชต้ายิงหลุดกรอบ

วิชั่นการเปลี่ยนแกนบอลและแกะเพรสให้บอลเดินทางไปข้างหน้าไม่ใช่คืนหลังอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้

ดังนั้น “อายุขัย” ที่มีจำกัดของ ของ ธิอาโก้ จะเป็นตัวบ่งชี้ต่อทิศทางของ ลิเวอร์พูล ในซีซั่นนี่้แน่่นอนครับ

การพักบอลของ โชต้า มีประโยชน์ต่อการเชื่อมเกมของ ลิเวอร์พูล มากและความนิ่งในพื้นที่สุดท้ายทำให้แข้งโปรตุกีสได้ไป 1 แอสซิสต์

การผ่านบอลเท้าสู่เท้าและลำเลียงบอลขึ้นมาเองของ “เจ๊มาติ๊ป” เพิ่มมิติและเป็น optional การเล่นของเจ้าถิ่นในจังหวะที่เหมือนตันๆซึ่ง โจ โกเมซ ไม่สามารถทำได้และเราไม่ต้องมาคอยขากระตุกว่าจะมีลูกส้มหล่นให้ฝ่ายตรงข้ามเมื่อไหร่

แต่ในชัยชนะครั้งนี้ “เกมรับ” ยังต้องหาจุดแก้ไขกันต่อไปเพราะประตูที่เสียให้ อาแย็กซ์ ทำให้ผมนึกถึงการเล่นของบอลไทยสมัย 30 ปีก่อนคือไหลบอลขนานเส้นข้างให้คนวิ่งสอด

แตกต่างกันตรงที่ฟุตบอลสมัยใหม่และแนวทางการเล่นของ “หงส์แดง” จะไม่ยืนไลน์ต่ำทำให้พื้นที่รับผิดชอบของ เทรนต์ อาร์โนลด์ เล่นยากและต้องอาศัยตัวช่วยคือมิดฟิลด์ช่วยตาม

จังหวะนี้ตามตัวผิดกันตั้งแต่แรกทำให้ มาติ๊ป ต้องทิ้งตำแหน่งมา cover เป็นเหตุทำให้ VvD โดนรุม 2-1 และ คูดุส ดันบังเอิญยิงลูกในลักษณะที่หาผู้รักษาประตูคนไหนในโลกเซฟได้อีกต่างหาก

ซึ่ง ฮาร์วีย์ เอลเลียตต์ ไม่ใช่มิดฟิลด์ตัวกลางโดยธรรมชาติแต่ JK พยายามปั้นทำให้การ support ในเกมรับส่วนนี้จึงค่อนข้างเปราะบาง ฝั่งขวาทั้ง TAA และเจ้าจุก รับผิดชอบร่วมกันจึงเป็นจุดโจมตีของคู่ต่อสู้ในระยะหลัง

สำหรับ ดาร์วิน นูนเญซ ที่เป็นประเด็นถูกพูดถึงอย่างมากกับแนวทางการเล่นของ ลิเวอร์พูล ที่เปลี่ยนไปเพื่อเจ้าตัวโดยเฉพาะ

เกมนี้มีโอกาสอยู่ในสนามราวๆ 28 นาที (รวมทดเจ็บ) เรายังคงเห็นการพักบอลให้เพื่อนที่พัฒนาการไม่คืบหน้า (ย้อน ดิอาซ จนถูกสวนถูกยิงแต่ล้ำหน้าก่อน)

ในส่วนที่เหลือเป็นจังหวะเร่งยิงหลุดเสา, กระชากเปิดให้ ดิอาซ แฉลบออกหลังเป็นช็อต “ว้าว” ที่เป็นไฮท์ไลท์ที่พอนึกออกและต้องเอาใจช่วยอีกเยอะ (มากๆ) ในการขยับขึ้นมาเป็น 11 ตัวจริงเพราะถ้าเอาจริงๆ โชต้า และ ฟีร์เมียโน่ ดูดีกว่าเห็นๆในตำแหน่งหน้าเป้า

ครับเป็นอีกครั้งที่ ลิเวอร์พูล กลับมาเป็นทีมเดิมเมื่อไลน์อัพ 11 ตัวจริงเกือบสมบูรณ์โดยเฉพาะแดนกลางที่จะเปรียบเสมือนปรอทวัดไข้ของเกมรับและรุกในเวลาเดียวกัน

แต่ปัญหาคือชุด “เกือบฟุล” หรือ “ฟุล” มันจะต่อเนื่องไปได้อีกกี่เกมหากพิจารณาจาก injury history ของตัวหลักๆ

อยู่ที่ JK คนเดียวแล้วละครับว่าจะเรียนรู้ความยุ่งเหยิงที่มาจากความ “ดื้อ” ส่วนตัวในช่วง 2 เดือนแรกของซีซั่นมากน้อยแค่ไหน

เพราะ "มื้อที่สุขที่สุด" อย่างเกมกับ นิวคาสเซิ่ล และ อาแย็กซ์ มันคงไม่โผล่มาเสิร์ฟพร้อมทานได้ทุกครั้งนะครับ......

 

สนับสนุนโดยเว็บไซต์ Ufabet