Google Earth
               Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น

            เครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง

            สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป

            นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย

 

การนำไปให้บริการ

 

              การให้บริการนี้ทำให้เกิดการให้บริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย การขนส่ง การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการทหารและการป้องกันประเทศอีกด้วย

                                                          

 

               ปัจจุบันมีการพัฒนาการให้บริการที่ผสมผสานกับข้อมูลของ Google Earth หลายอย่างเช่น ในธุรกิจอสังหารินทรัพย์ มีการแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกและชัดเจน การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงจะเอื้อประโยชน์ต่อรุกิจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับที่พักอาศัย บ้านเช่าต่าง ๆ

                                                            

 

               Google Earth ยังช่วยให้ธุรกิจงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ

                                                            

 

คู่มือการใช้งาน

          ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม Google Earth ดังนี้

1. เริ่มต้นโดยการ search คำว่า “Google Earth” จากเว็บไซต์ www.google.com  จากนั้น ทำการ Download program และทำการ Install program

2. เมื่อทำการ Install program เรียบร้อยแล้ว เราจะสามารถเห็นหน้าจอการใช้งานดังรูป ด้านล่างนี้

                            

 

             ส่วนที่ 1 : การค้นหาตำแหน่งสถานที่ตั้ง (Search)

เราสามารถทำการ Search ข้อมูลสถานที่ต้องการได้ โดยการกรอกข้อมูลลงในช่องกรอกรายละเอียดจากนั้นทำการกดปุ่ม Search โดยแบ่งเป็นประเภทของการค้นหาข้อมูลได้ 3 ลักษณะคือ

             - Fly to : ค้นหาแบบระบุชื่อสถานที่หรือกำหนดพิกัด

             - Local search : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการหาอะไรที่ไหน (เช่นหาร้าน Pizza ที่เมือง San Francisco, CA)

             - Directions : ค้นหาแบบกำหนดเงื่อนไขว่าต้องการเดินทางจากเมืองต้นทางไปยังเมืองปลายทาง

              (โปรแกรมจะบอกเส้นทางว่าจะต้องเลี้ยวทิศไหนระยะทางเท่าไหร่บนถนนชื่ออะไร)

                                       

                 ภายหลังจากกดปุ่ม Search คำว่า bangkok (แบบ Fly to) โปรแกรมจะแสดงภาพของสิ่งที่เราค้นหา

                                       

 

              ส่วนที่ 2 : การเลือกสถานที่สำคัญจากทั่วโลก (Places)

             เราสามารถทำการค้นหาสถานที่สำคัญที่ต้องการจากทั่วโลกได้ โดยการคลิกที่ชื่อสถานที่นั้น(สามารถเพิ่มเข้าไปได้เองภายหลัง)
และโปรแกรมจะแสดงภาพของสถานที่ดังกล่าวเช่นเดียวกับใช้คำสั่ง   Fly to ใน Search


                                                                               
*ในภาพคือ Oly Australia

                                    

             ส่วนที่ 3 : แสดงตำแหน่งที่ตั้งจากข้อความสำคัญ (Layer)

            เราสามารถทำการ เลือกให้โปรแกรมแสดงข้อมูลที่ต้องการลงบนแผนภาพได้ จากการเลือกหมวดของสิ่งที่ต้องการค้นหา เช่น Golf, School, Hospital, etc. เมื่อทำการเลือกหมวดที่ต้องการแสดงแล้ว หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการแสดงตำแหน่งของข้อมูลที่เราเลือกลงบนแผนภาพ       
                                              


                                    ให้แผนภาพแสดงขอบเขต (borders) ของประเทศต่าง

                                             

                  ส่วนที่ 4 : แสดงปุ่มการควบคุมแผนภาพ (Navigation Panel)

                 เราสามารถทำการปรับการแสดงผลบนแผนภาพโดยการกดปุ่มต่างบน
                      - Navigation Panel - Zoom in, Zoom out : ขยายและย่อขนาดภาพ
                      - Rotate left, Rotate right : หมุนภาพ

                      - ปุ่มลูกศร : สำหรับเลื่อนแผนภาพไปยังทิศที่ต้องการ

                        - Tilt up, Tilt down : เลื่อนองศาของการมองจากแนวราบถึงแนวดิ่ง (0-90 °)



                                                                     ภาพภูเขาไฟฟูจิเมื่อมองในแนวดิ่ง

                                                 

                                                                      ภายหลังจากปรับมุมมองและขยายภาพ

                                                 

 



                                                                                             (ที่มา VMaster และ วิชาการ.คอม (http://www.vcharkarn.com/)