หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>การเจริญเติบโตและพัฒนาการฯ
>>ชีวิตและครอบครัว
>>การสร้างเสริมสุขภาพ
>>ความปลอดภัยในใชีวิต
 
 
 
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบเลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค

โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
                   โรคไม่ติดต่อ
                         โรค ไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคนิ่ว โรคจิต และโรคประสาท โรคความดันเลือดต่างๆเป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อ
                   ส่วนมากจะเป็นวัยทำงาน เพราะมีความเครียด ขาดการออกกำลังกาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเริ่มตั้งแต่แม่และเด็ก แม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก เพราะเด็กไทยเป็นเด็กที่อ้วนมากขึ้น อย่างน่าเป็นห่วง และเด็กที่อ้วนเมื่อเติบโตก็จะเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งขณะนี้เด็กไทยที่เป็นโรคเบาหวานก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น ตอนนี้ทุกกลุ่มต้องทราบว่าตัวเองมีสิทธิ์จะมีความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง
                   ปัจจัย เสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความดันเลือด การขาดการออกกำลังกาย โคเลสเตอรอลและความอ้วน

ตัวอย่างของโรคไม่ติดต่อ

โรคตาฟาง
                   เกิดจากการขาดอาหารที่มีไวตามินเอ
                   อาการ
                         ตามัวเวลากลางคืน นัยน์ตาแห้ง เคืองตาไม่กล้าสู้แสง และผิวหนังหยาบ แห้ง แตกเป็นสะเก็ด
                   การป้องกัน
                         รับประทานน้ำมันตับปลา นม ไข่แดงมะเขือเทศ ฟักทอง ข้าวโพด กล้วย มะละกอสุก ขนุน มะม่วง ละมุด ฯลฯ

โรคเหน็บชา
                   เกิดจากขาดอาหารที่มีไวตามันบีหนึ่ง
                   อาการ
                         เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือปลายเท้า ขาลีบเรียว กล้ามเนื้อไม่ทำงาน เหนื่อยง่าย
                   การป้องกัน
                         รับประทานข้าวซ้อมมือข้าวที่หุงไม่เช็ดน้ำ หรือใช้วิธีนึ่ง เนื้อหมู ปลา ไข่แดง เครื่องในสัตว์ถั่วต่างๆ และผักใบเขียว

โรคแผลที่มุมปาก
                   เกิดจากขาดไวตามินบีสอง
                   อาการ
                         มุมปากแตกเป็นแผลทั้งสองข้างริมฝีปากแห้ง ลิ้นอักเสบ ผิวหนังมุมจมูกด้านนอกอักเสบ และแตก

                   การป้องกัน
                         รับประทานนม ตับ หัวใจ ผักใบเขียวและผักกำลังแตกยอด เช่น ใบขี้เหล็ก ผักโขม ใบมันสำปะหลัง ผักชียอดแค

โรคโลหิตจาง
                   เกิดจากขาดธาตุเหล็ก ขาดโปรตีนขาดไวตามินบีสิบสอง ร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้
                   อาการ
                         ซีด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หงุดหงิดเล็บบาง เปราะ
                   การป้องกัน
                         รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่แดง กุ้งแห้งปลามู หอยขม ผักแว่น ผักพังพวย โหระพา สะระแหน่ คื่นช่าย กะปิ

โรคคอพอก
                   เกิดจากขาดเกลือแร่ไอโอดีน
                   อาการ
                         ต่อมไทรอยด์ที่คอโต ทำให้หายใจและกลืนอาหารลำบาก
                   การป้องกัน
                         รับประทานอาหารทะเล ปลาทู หอย ปูและควรใช้เกลืออนามัย ประกอบอาหาร

โรคกระดูกอ่อน
                   เกิดจากขาดไวตามินดีและแคลเซียม
                   อาการ
                         กระดูกพิการ โค้ง กระดูกข้อต่อโตร่างกายเจริญเติบโตช้า
                   การป้องกัน
                         รับประทานกุ้งแห้ง ปลาแห้งปลาเล็กปลาน้อย น้อมันตับปลา นม ยอดแค ผักคะน้า ถั่วแดง ใบยอผักโขม คึ่นช่ายกะปิ

โรคผอมแห้ง
                   เกิดจากรับประทานอาหารไม่พอกับที่ร่างกายต้องการ
                   อาการ
                         ผอมมาก ไม่มีไขมันใต้ผิวหนังอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
                   การป้องกัน
                         รับประทานให้พอเพียง มีสารอาหารครบและพักผ่อนอย่างพอเพียง

โรคอ้วน
                   เกิดจากรับประทาอาหารมากเกินไปหรือเกิดความผิดปกติของต่อมในร่างกาย
                   อาการ
                         อ้วนมาก มีไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว เหนื่อยง่าย
                   การป้องกัน
                         ลดอาหารพวกแป้ง และไขมันควรรับประทานผัก ผลไม้ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ความดันโลหิตสูง
                   ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุบางส่วนโดยเฉพาะคนไข้อายุน้อย เกิดจากโรคอื่น เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
                   อาการ
                         ปวดมึนบริเวณท้ายทอยมักจะเป็นมากเวลาตื่นนอน พอสายๆ จะรู้สึกค่อยยังชั่ว คนไข้จะอ่อนเพลียใจสั่น
                   การป้องกัน
                         ควรงดอาหารเค็มจัดและติดต่อรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

โรคเบาหวาน
                   เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง ทำให้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย มีน้อยจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในกระแสเลือด มีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์หรือจากการใช้ยา
                   อาการ
                         อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อยกินข้าวจุ น้ำหนักลด ปัสสาวะมีมดขึ้น หรือเป็นแผลเรื้อรัง ชาตามมือและเท้า
                   การป้องกัน
                         รับประทานอาหารและผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยที่สุด

แนวทางการปฏิบัติโดยทั่วไปในการป้องกันโรคไม่ติด
                   ๑.  ต้องรักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี
                   ๒.  จัดให้มีการสุขาภิบาลที่ดี
                   ๓.  ล้างพืชผักให้สะอาดก่อนรับประทาน รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน
                   ๔.  เลือกซื้ออาหารที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรฐาน ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ
                   ๕.ควรออกกำลังการอย่าสม่ำเสมอ

โรคติดต่อ
                   โรคติดต่อ คือ โรคที่สามารถถ่ายทอด ติดต่อถึงกันได้ระหว่างบุคคล โดยมีเชื้อจุลินทรีย์ ต่าง ๆ เป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ วัณโรคกามโรค โรคเรื้อน อหิวาตกโรค โรคเอดส์ เป็นต้น แม้ว่าเชื้อโรคจะเป็นตัวก่อเหตุ แต่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ก็เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ

ตัวอย่างของโรคไม่ติดต่อ

โรคตาแดง
                   เป็นโรคติดต่อที่ระบาดได้ง่ายมาก โรคนี้จะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้

โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 
                   เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ระบาดได้ตลอดปีมักเกิดในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว

โรควัณโรค (ทีบี)
                   เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรียติดมากับละอองเสมหะและละอองน้ำลายที่กระจายในอากาศ สมัยก่อนคนเรียกโรคนี้ว่า ฝีในท้อง ถ้าใครเป็นละก็ตายทุกราย ไม่มียาแก้แถมคนที่ป่วยยังถูกรังเกียจด้วย แต่ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาได้

ทางติดต่อของเชื้อโรค
                   ได้แก่
                         1.  ทางการหายใจหรือสูดดม นับว่าเป็นทางที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยจะปล่อยเชื้อโรคออกมากับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยการไอหรือจาม เกิดเป็นละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ ถ่ายทอดให้ผู้อื่นโดยการสูดดมละอองเชื้อโรคเข้าไป ทำให้ติดเชื้อป่วยเป็นโรค ตัวอย่างเช่น วัณโรค ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้คอตีบ ไอกรน และหัด เป็นต้น
                         2.  ทางการกิน โดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเชื้อโรคจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในลำไส้ ออกมากับอุจจาระแล้วปนเปื้อนกับอาหารหรือเครื่องดื่ม ติดต่อสู่ผู้อื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น อหิวาตกโรค บิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย โปลิโอ ตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิตืดหมู พยาธิตืดวัว พยาธิใบไม้ในปอด และพยาธิตัวจี๊ด เป็นต้น
                         3.  ทางผิวหนัง ทางบาดแผล รอยถลอกหรือฉีดยา โดยทั่วไปผิวหนังและเยื่อบุของคนปกติจะสามารถป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเกิดบาดแผลหรือรอยถลอก หรือแทงเข็มผ่านไปก็จะทำให้เชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนได้ ตัวอย่างเช่น โรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก และหนองฝี เป็นต้น
                         4. ทางเพศสัมพันธ์ โรคที่ติดต่อทางเพศเดิมเคยเรียกว่า กามโรค ปัจจุบันเรียกว่า โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีมากมายหลายโรค เช่น หนองใน ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เริม และแผลริมอ่อน
5. ทางรกและช่องคลอด ถ้ามารดามีการติดเชื้อโรคบางอย่างขณะตั้งครรภ์ ทำให้ทารกติดเชื้อ เกิดความพิการแต่กำเนิด แท้ง หรือตายตั้งแต่แรกคลอด เชื้อที่สำคัญได้แก่ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน เป็นต้น

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th