หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>การเจริญเติบโตและพัฒนาการฯ
>>ชีวิตและครอบครัว
>>การสร้างเสริมสุขภาพ
>>ความปลอดภัยในใชีวิต
 
 
 
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบเลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว

1. องค์ประกอบของอนามัย
เจริญพันธ์กับภาวะสุขภาพ
            อนามัยเจริญพันธ์เป็นการศึกษาภาวะความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจทั้งชายและหญิงว่ามีความสามารถทำหน้าที่ของการเจริญพันธ์ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อกำหนดระยะการมีบุตรร่วมกัน หญิงสามารถผ่านการตั้งครรภ์และคลอดบุตรอย่างปลอดภัย รวมทั้งสุขภาพของมารดาและทารกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธ์ที่มีผลต่อสุขภาพ มี 10 องค์ประกอบดังนี้
1. สุขภาพทางเพศ
สุขภาพทางเพศ หมายถึง ความสามารถในการดูแลสุขภาพทางเพศได้ตามวัย เช่น ผู้หญิงมีประจำเดือนทุกเดือน ผู้หญิงบางคนปวดท้องมากขณะมีประจำเดือน หรือเจ็บป่วยเพราะโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการมีประจำเดือน ผู้หญิงเหล่านี้จะสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างไร
2. การวางแผนครอบครัว
การวางแผนครอบครัว ครอบคลุมถึงการป้องกันการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม การวางแผนว่าจะมีลูกกี่คน จะใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างไร จะมีลูกเมื่อไหร่ เพื่อให้มีขนาดครอบครัวที่เหมาะสม
วิธีการคุมกำเนิด
       ผู้ชาย คุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงยางสวมใส่อวัยวะเพศขณะร่วมเพศ เพื่อป้องกันน้ำอสุจิสัมผัสช่องคลอดและในขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
                ผู้หญิง มีวิธีคุมกำเนิด ฤโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งเป็นยากินทุกวันเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดโดยใช้ยาฉีด ยาฝัง หรือใส่ห่วงอนามัย
3. อนามัยแม่และเด็ก
อนามัยแม่และเด็ก เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของหญิงทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการตั้งครรภ์ปลอดภัย มีลูกที่สุขภาพสมบูรณ์ และเลี้ยงดูลูกอย่างมีคุณภาพ
ปัญหาสุขภาพที่เกิดกับหญิงตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ช่องเชิงกรานแคบ คลอดลูกน้ำหนักน้อย ปัญหาโลหิตจางในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น
4. การป้องกันโรคเอดส์
   การติดเชื้อเอดส์หรือเชื้อเอชไอวีในขณะตั้งครรภ์ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจะพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อเอดส์จากมารดาสู่ทารก ได้แก่
1.ปริมาณจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกายของมารดา
2.โอกาสที่ทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อไวรัสจากมารดา ซึ่งเกิดขึ้นจากการถ่ายเทเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยผ่านทางเลือด ผ่านรกและสายสะดือไปสู่ทารกในครรภ์
5. การป้องกันโรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์
                ปัญหาสุขภาพ ได้แก่ การติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เริม เป็นต้น จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องการป้องกัน โดยให้คำปรึกษาแก่ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตลอดจนควบคุมป้องกันและให้การรักษาแก่ผู้เป็นโรค
                การป้องกันโรคติดเชื้อในระบบสืบพันธ์ ได้แก่ การควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคติดเชื้ออื่นๆของระบบสืบพันธ์ เพื่อลดอัตราการติดเชื้อลงให้มากที่สุด
ความผิดปกติของระบบอนามัยเจริญพันธ์
                ความผิดปกติของระบบอนามัยเจริญพันธ์ เช่น การประสบกับภาวะการมบุตรยาก โดยสตรีวัยเจริญพันธ์ที่ต้องการตั้งครรภ์ ไม่ได้คุมกำเนิดแต่ไม่มีบุตร การช่วยเหลือจึงเน้นการให้คำปรึกษาแนะนำและการให้บริการแก่ผู้มีบุตรยาก
7.เพศศึกษา
                เพศศึกษา หมายถึง กระบวนการให้ความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศ สิทธิทางเพศ และสิทธิอนามัยเจริญพันธ์ เข้าใจความต้องการและอารมณ์ทางเพศเรียนรู้บทบาทชายหญิง
                เมื่อเรียนเพศศึกษา จะมีผลกระทบต่อสุขภาพด้านบวก ได้แก่ มีค่านิยมทางเพศที่ดี มีความรับผิดชอบเรื่องเพษสัมพันธ์ เข้าใจบทบาทหน้าที่ชายหญิง และปฏิบัติต่อกันอย่างถูกต้องเหมาะสม มีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง เข้าใจเรื่องราวของชีวิตครอบครัว และเป็นการนับถือตนเอง
8.การป้องกันการทำแท้งและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
                วัยรุ่นส่วนหนึ่งมีปัญหาการทำแท้ง น่าเป็นห่วงเพราะวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานในขณะที่กำลังศึกษาเล่าเรียน อีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้บริการทำแท้งมากที่สุด คือกลุ่มตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อันเนื่องมาจากการคุมกำเนิดผิดพลาดหรือมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
ผลกระทบต่อสุขภาพของการทำแท้ง  ได้แก่ เกิดการบากเจ็บและทุพพลภาพจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย หรืออาจร้ายแรงถึงเสียชีวิตมีปรากฎให้เห็นตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์เป็นระยะ จิตใจของหญิงที่ทำแท้งหรือแท้งลูกย่อมถูกกระทบกระเทือนมาก เกิดความเสียใจ สำนึกผิด ตำหนิตนเอง และอาจหมดความนับถือตนเองได้
9.อนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น
                อนามัยเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น เป็นเรื่องที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรู้ในเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงปรารถนาและป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์
10.ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และสูงอายุ
                ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และสูงอายุ หมายถึง กลุ่มวัยหมดระดูและสูงอายุ ถึงแม้ว่าจะหมดภาวะวัยเจริญพันธุ์แล้ว แต่ก็ควรกล่าวถึงด้วยเพราะอนามัยเจริญพันธุ์รวมในทุกช่วงชีวิตให้อยู่อย่างมีความสุขและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ดังนั้นจึงแนะนำหู้ที่หมดวัยเจริญพันธ์หรือผู้สูงอายุบริการฮอร์โมนทดแทน การบำบัดรักษาให้กลุ่มคนวัยหมดระดูและสูงอายุ ให้มีสุขภาพดี ได้แก่ การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
11.สรุป
                องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์มีส่วนช่วยให้วัยรุ่นได้เข้าใจถึงการดูแลสุขภาพตนเองในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ การทำแท้ง และการดูแลสุขภาพของมารดาและทารก เป็นต้น     
      ประโยชน์ที่ได้รับสำหรับวัยรุ่นจะเกิดความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตครอบครัวในอนาคตว่าต้องมีการปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อทำให้มีชีวิตอย่างมีความสุขและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
1. ปัจจัยส่วนบุคคล อยู่ในกลุ่มอายุเฉลี่ย 17.3 ปี  มีอายุต่ำสุดอยู่ที่ 11 ปี  ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นลงมา  ร้อยละ 85.3  มีอาชีพ  รับจ้าง การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่พึงประสงค์   ร้อยละ 64.1 อยู่กับสามี  ร้อยละ 87.8  ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ อยู่ในระดับต่ำ  เจตคติต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ อยู่ในระดับสูง  ค่านิยมต่อการมีบุตร  อยู่ในระดับปานกลาง  และการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ อยู่ในระดับต่ำ
ปัจจัยเสริม พบว่า การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และมีบุตร อยู่ในระดับต่ำ ไม่ได้รับรู้เห็นตัวอย่างของอันตรายที่จะเกิดขึ้นของการตั้งครรภ์อายุต่ำกว่า 20 ปี  จึงไม่เห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับการมีบุตรเมื่ออายุน้อย  ประกอบกับผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขาดความรู้  ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา  การคุมกำเนิด  และการวางแผนครอบครัวที่ถูกต้อง
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ของหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ได้แก่ ปัจจัยทางด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ  รายได้ อายุการตั้งครรภ์ครั้งแรก และค่านิยมเกี่ยวกับการมีบุตร  ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิด และการวางแผนครอบครัว รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบให้กับกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ทั้งที่อยู่ในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อให้รู้จักเลือก และใช้วิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดจำนวนการมีบุตรคนแรก ขณะมารดาอายุต่ำกว่า 20 ปี ให้น้อยลง เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในทางหนึ่งด้วย 
สาเหตุของการขัดแย้งภายในครอบครัว
ความขัดแย้งในครอบครัว มี 4 สาเหตุ แยกได้ดังนี้
1. นิสัยและความเคยชินส่วนตัว  เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงยากมาก เพราะเป็นนิสัยที่ติดตัวมานาน
เคยปฏิบัติซ้ำๆ มาแล้วในอดีต ถึงแม้จะเปลี่ยนได้ แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นสามี ภรรยาจะต้องยอมรับ และทำใจให้ได้แล้วปรับตัวเข้าหากัน ถึงจะอยู่ด้วยกันยืนยาว
2. ขาดความตะหนักในบทบาทและหน้าที่   ปัจจุบันสตรีมีบทบาทในการทำงาน หาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวเช่นกัน แต่สตรีก็ยังต้องมารับผิดชอบงานในบ้าน และอบรมสั่งสอนบุตรธิดาอีก จึงทำให้บางครั้งภรรยารู้สึกหงุดหงิด และจุกจิกจู้จี้ไปบ้าง ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ และสามีบางคนก็ไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง คอยตำหนิ ดุด่าภรรยาว่าไม่อบรมเลี้ยงดูบุตร ทั้งๆ ที่งานอบรมเลี้ยงดูบุตรก็เป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งพ่อและแม่ ฉะนั้น ทั้งสองคนต้องช่วยเหลือกันในการอบรมเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการงานในบ้านที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3. ไม่มีเวลาให้กันและกัน เนื่องมาจากต่างฝ่ายต่างมีภาระกิจต้องทำงาน บางทีก็แยกกันอยู่ ทำให้ไม่มีเวลาพูดคุย รับรู้สารทุกข์สุกดิบของกันและกัน ครอบครัวจึงควรมีวันแห่งครอบครัว สัปดาห์ละ 1 วัน หรือแล้วแต่ตกลงกัน มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก มีกิจกรรมร่วมกัน
4. ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาในครอบครัว ได้แก่ การทะเลาะ ดุด่า ข่มขู่ จนกระทั่งลงมือตบตีกัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการพูดยั่วยุของฝ่ายหญิง ทำให้ฝ่ายชายโกรธจนทนไม่ได้ ลงมือทำร้าย เพื่อระงับเหตุ
แนวทางแก้ไข  คือ
1. ไม่ควรพูดยั่วยุ จนถึงขั้นทนไม่ได้
2. ควรตั้งกติกาครอบครัวเอาไว้ เช่น ไม่โกรธกันนานเกิน 1 อาทิตย์ ผู้ใดเป็นฝ่ายผิดต้องขอโทษก่อน และอีกฝ่ายต้องรีบให้อภัย และไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกเสียหน้า
3. ถ้าทนไม่ไหวต่อการยั่วยุจริงๆ ให้หลีกเลี่ยงการลงไม้ลงมือ โดยการเดินหนีไปสักระยะหนึ่ง เมื่อหายโกรธค่อยกลับมา
การนอกใจกันของสามีหรือภรรยา
สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก 
            1. เรื่องเพศ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคู่ จึงต้องมีความเข้าใจกัน และร่วมมือร่วมใจกันเพื่อความสุขของทั้งสองฝ่าย
            2. ความไม่เข้าใจกัน มีความระแวง สงสัย ไม่ไว้วางใจกันและกัน แสดงตนเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ จู้จี้บ่นมากเกินไป
แนวทางแก้ไข คือ ยึดหลัก 3 ไม่ 4 มี ดังต่อไปนี้
3 ไม่
      1. ไม่จุกจิก จู้จี้
      2. ไม่เป็นเจ้าของหัวใจ
      3. ไม่ตำหนิติเตียน
4 มี
      1. มีการยกย่องให้เกียรติ
      2. มีการเอาอกเอาใจยามป่วยไข้ควรดูแล
      3. มีการวาจาสุภาพอ่อนโยน
      4. มีความรู้เรื่องเพศ
ปัญญัติ 7 ประการ เมื่อสามีนอกใจ
 
1. หาความรู้เรื่องเพศ
2. ไม่ตัดสินใจหย่าง่ายๆ
3. ไม่แก้แค้นแบบเกลือจิ้มเกลือ
4. ไม่แก้แค้นแบบไม่ให้สามีนอนด้วย
5. ไม่แก้แค้นโดยคาดคั้นให้สามียอมรับ
6. ไม่สืบสวนโดยจ้างทนายสืบ
7. ไม่โพนทนา
สรุป
ถ้าทุกครอบครัวมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้ให้หมักหมมนานวัน ควรหันหน้าเข้าพูดจากัน หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันไม่ผลักภาระความรับผิดชอบให้ฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบ สื่อสารด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหาแล้วความขัดแย้งต่างๆ จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอันจะเป็นผลให้ครอบครัวมีความสุขสมบูรณ์ตลอดไป

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th