หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔
คลิกเลือกหัวข้อที่จะเรียนจากเมนูด้านล่าง
>>การเจริญเติบโตและพัฒนาการฯ
>>ชีวิตและครอบครัว
>>การสร้างเสริมสุขภาพ
>>ความปลอดภัยในใชีวิต
 
 
 
 
 

คำแนะนำ >> เลือกหน่วยการเรียนรู้ด้านบเลือกเรื่องเมนูด้านซ้าย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกและวัยเด็ก
                หลังจากที่ทารกคลดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว ทารกจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ ขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากพันธุกรรม รวมถึงการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมภายนอกพี่เผชิญอยู่ ซึ่งเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ก็ย่างก้าวสู่ช่วงวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหย๋ตามลำดับ แต่วัยที่ต้องมีการปรบตัวอย่างมากกับการดำรงชีวิตคือ วัยทารกและวัยเด็ก เนื่องจากต้องการประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตหลายประการ
                1.การตริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
  1.1 ช่วงวัยของทารก
                วัยทารก หมายถึง ช่าวเวลาของชีวิตตั้งแต่กำเนิดสู่โลกภายนอก จนถึงอยุ 24 เดือนซึ่งสามารแบ่งิกเบ็น 2 ช่วงคือ ช่างวัยแรกเกิด (infancy) และช่วงวัยทารก (babyhood)
                1.ช่วงวัยทารกแรกเกิด นับตั้งแต่คลอดจนถึง 2 สัปดาห์เป็นระยะที่ทารกฟ้นตัวจากการคลอด และมรการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิภายนอกครรภ์มารดา เนื่องจากขณะอยู่ในครรภ์มมารดาจะอุณหภูมิระมาร 37 องศาเซลเซียส แต่คลอดออกมาแล้วจะอนู่ในอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซีลเซียส
                2. ช่วงวัยทารก นับตั้งแต่อายุได้ 2 สัปดาห์ถึง 2 ปี ในช่วงวัยนี้ ทารกจะแสดงความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก สามารถสื่อสารกับกับคนรอบตัวได้ดีขึ้น
1.2 การเจริญเติบโต พฤติกรรม และพัฒนาการของวัยทารกแรกเกิด
                ทารกแรกเกิดนั้นเมื่อดูผิวเผิน มุกคนจะมีลักษณะที่คล้ายๆกัน การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกแรกเกิดนั้น สามารถแบ่งออด้านต่างๆ ๆด้ดังนี้
                1.พัฒนาการทางด้านร่างกาย โดยส่วนใหญ่ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 3,100 กรัมและมีลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร สัดส่วนของศีรษะต่อลำตัวของทารกแรกเกิดเป็น 1 ต่อ 4 จะมีแขนขาสั้นและงออยู่แทบตลอดเวลา มือและเท้าค่อนข้างเล็ก ผิวหนังอ่อนนุ่ม มีสีอมชมพู ผมเส้นเล็กอ่อนนุ่ม ตามหน้าผาก หลัง และแขนขามีขนอ่อนๆขึ้น ซึ่งจะค่อยๆร่วงไปในที่สุด โคงกระดูกอ่อน โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ จึงต้องจับด้วยความระมัดระวังกล้ามเนื้อยังมีน้อย และควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้
                2.พัฒนาการทางด้านพฤติกรรม ทำอะไรได้ไม่มากนัก เนื่องจากสมองและประสาทยังพัฒนาได้ยังไม่เต็มที่ พฤติกรรมของทารกแรกเกิดมีไว้เพื่อตอบสนองต่อการอยู่รอดของชีวิต เช่น การดิ้นไปมาของทารก หรือการหลับตาเมื่อมีแสงจ้า การรรู้จักดูดนิ้วหรือหัวนิ้วหรือหัวนมแม่ที่มีผู้ใส่เข้าไปในปาก
                ทารกแรกเกิดจะรับรู้สิ่แวดล้อมโดยใช้อวัยวะสัมผัส คือ ตา หู จมูก ปาก และผิวหนังโดยการเนนั้นพบ่าในระยะแรกเกิดจะมองเห็นเป็นสีดำ ขาว และเทาจนเมื่ออายุได้ 2 สัปดาห์จะรู้จักแยกสีได้ ในด้านการได้ยินนั้น แรกเกิดจะไม่ค่อยได้ยิน ต่อมาเริ่มมีปฏิกิริยาเริ่มตอบสนองโดยเฉพาะเสียงสูงและดัง โดยการหยุดซะงักหรือเริ่มร้องไห้ เป็นต้นการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นไปใน 2 ลักษณะได้แก่ การยิ้ม และการร้องไห้ ซึ่งใช้สื่อความเข้าใจกัคนเลี้ยงทำให่คนเลี้ยงมีปฏิกิริยาตอบโต้ เช่น พูดด้วย เอานมให้ดูด เป็นต้น
                3.พัฒนาการทางด้านอารมณ์ อารมณ์ของทารกแรกเกิด มี 3 ลักษณะคือ คาวมรัก ความโกธร และความกลัว ซึ่งมีอิทธิพลมาจากคนรอบข้าง โดยดฉพาะมารดาซึ่เป็นผู้เลี้ยงดู หากมารดามียอมรับและเอาใจใส่ในตัวทารก ก็จะทำให้อารมณ์แจ่มใส่
                4.พัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ เป็นการพัฒนาตั้งแต่เกิด โดยระยะแรกนั้น เป็นผลมาจากพันธุกรรมต่อมาเป็นผลของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยสิ่งวดล้อมนั้นเริ่มมีความสำคัญมากตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ของแม่ หากทารกได้รับความกระทบกระเทือน เนื่องจากที่มารดาไม่ดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเอง ก็จะส่งผลกระทบด้วยเช่นกัน
                5.การปรับตัวของทารกแรกเกิด ต้องมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมภายนอกที่แตกต่างจากครรภ์มารดา และยังมีการปรับตัวในการหายใจการดูดและกลืน รวมถึงการขับถ่ายอีกด้วย1.3 การเจริญเติบโต พฤติกรรม และพัฒนาการของวัยทารก
                พัฒนาการพื้นฐานที่สำคัญในวัยนี้ คือ พัฒนาการาทงร่างกาย การเคลื่อนไหวและการพูดในขณะที่พัฒนาการด้านอื่นเช่น สติปัญญา อารมณ์และสังคม จะเกิดขึ้นช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปและเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก
                1.พัฒนาการทางด้านร่างกาย เติบโตรวดเร็วมากกว่าวัยอื่น ยกเว้นรุ่น ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดี ประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการด้านกายจะเป็นไปตามวุฒิภาวะมากกว่าสิ่งแวดล้อม และเป็นปอย่างสม่ำเสมอหรือมีแบบแผนที่แน่นอนคือ จากศีรษะสู่เท้าจากแกนกลางลำตัวสู่มือและเท้า ตามักษณะดังนี้
                1.1 ส่วนสูงของทารก แรกเกิดทารกจะมีส่วนสูงประมาณ 45-50 เซนตเมตร และเมื่อมีอายุได้ขวบปีแรก จะมีความสูงประมาณ 75 เซนติเมตร
                1.2 น้ำหนักของทารก เมื่อแรกเกิดทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 5 ของน้ำหนักตัวของผู้ใหญ่ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวชองเด็กจะพบว่าเป็น 2 เม่าของทารกวัยแรกเกิด เมื่ออายุได้ประมาณ 5เดือน และอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และ 4 เท่า เมื่ออายุได้ 12 เดือนและ 30 เดือนตามลำดับ
                1.3 ศรีษะและสมอง เด็กแรกเกิดกะโหลกศรีษะยังมีกระดูกไม่เต็ม วัดรอบศีรษะไปประมาณ 33-37เซนติเมตร ในขณะที่สมองของเด็กแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่และในระยะ 6เดือน จะเพิ่มเป็นร้อยละ 50 เมื่ออายุได้ 4 ปีซึ่งนับว่าเป็นอวัยวะที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
                1.4 สัดส่วนของร่างกาย โดยสัดส่วนของศีรษะต่อเมื่อแรกเกิด จะเท่ากับประมาณ 1:4 และเมื่อโตเต็มที่จะเป็น 1:7 ในขณที่สัดส่วนของร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน
                1.5 โครงกระดูกและฟัน เจริญเติบโตเร็วมาก จะเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนของกระดูก ความยาว ความกว้าง และความแข็งตัว ซึ่งพบว่ากระดูกส่วนใหญ่ของทารกจะแข็งจัวไม่เต็มที่ผู้ใหญ่แต่กระดูกบางส่นะเริ่งแข็งตัวขึ้น เช่น กระดูกมือและข้อมือ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ โดยเฉพาะกระโหลกศีรษะ ซึ่งเมื่อคลอดจะยังปิดไม่สนิทอยู่ 4 ส่วน คือด้าหจ้าของศีรษะ ด้านข้างบริเวณกกหู 2 แห่ง และด้านหลังบริเวณท้ายทอย 1 แห่ง กะโหลกศีรษะด้านหน้าและด้านข้างจะปิดสนิทประมาณ 6-8สัปดาห์
                                ฟัน เมื่อแรกเกิดนั้นทารกจะไม่มีฟันที่สังเกตเห็นได้ โดยฟันน้ำนมจะขึ้นซี่แรกได้อายุประมาณ 6-8เดือนละครบ 20ซี่ เมื่ออายุ 24-30 เดือน
                1.6 ระบบประสาท ทารกต้องใช้เวลาในปีแรกๆ เพื่อพัฒนาเซลล์สมอง โดยพบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สมองมีการพัฒาถึงร้อยละ 50 และจะพัฒนาเป็นร้อยละ 75 เมื่อมีอายุได้ 2 ขวบ การพัฒนาของสมองส่งผลสำคัญต่อการรับรู้ และการเคลื่อนไหว เราจึงได้เห็นทารกมีการพัฒนาด้านการเคลื่อไหวเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน และค่อนข้างรวดเร็ว
                1.7 การเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวในตอนแรกของทารกเป็นปฏิกิริยาสะท้อน ดังนั้นระยะแรกๆ จึงเป็นการเคลื่อนหวที่ไร้จุดหมาย เหวี่ยงแขนไปมา ไม่มีทิศทาที่แน่นอน แต่เมื่ออวัยวะต่างๆพัฒนาขึ้น การเคลื่อนไหวของร่างกายทารกจึงเป็ไปตามใจปราถนาของทารกเอง และมีโดยใช้ปฎิกิริยาสะท้อน
                1.8 พัฒนาการทางด้านสรีระ ทารกแรกเกิดจะนอนหลับเกือบตลอดวัน วันละ16-18ชั่งโมงต่อมาจะปรับตัวโดยจะลดจำนวนชั่วโมงการนอนลงพร้อมใช้เวลานอนในตอนกลางคืนมากกว่ากลางวัยในขณะที่การกินั้นทารกยังไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารด้วต้นเอง อวัยวะต่างๆยังทำงานไม่เต็มที่จึงต้องกินอาหารเหลวจนถึงอายุ 4-5 เดือนจากนั้นจึงสามารถกินอาหารที่ลักษณะข้นได้ เมื่อฟันงอกก็จะเริ่มเคี้ยวอาหารในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ การช่วยตนเองในการกินจะค่อยๆ เป็นไปตามพัฒนาการของการใช้มือสำหรับการขับถ่ายในขวบปีแรกทารกยังสามารถควบคุมการขับถ่ยได้โดยในช่วงแรกได้เกิดทารกจะมีการขับถ่ายบ่นครั้งมากและเมื่ออายุได้ 2 เดื่อนทารกจะขับถ่ายอุจจาระน้อยลงเพียงวันละ 2ครั้งใกล้เวลาตื่นนอนและหลังดื่มนมสำหรับการขับถ่ายปัสสาวะก็จะเป็นไปเช่นเดียวกับอุจจาระ
2.พัฒนาการทางด้านสติปัญญา   จะเป็นไปตามวัยและต้องอาศัยการทำหน้าที่ในส่วนอื่นของร่างกายประกอบกันด้วย เช่น การรับรู้ การเรียนรู้ และความรู้เรื่องภาษา โดยที่ในขวบปีแรกการรับรู้จะอาศัยอวัยยวะสัมผัสต่างๆ เช่น  ปาก จมูก มือ ลิ้น และผิวหนัง โดยที่พว่าเมื่ออายุประมาณ 7-8 เดือนทารกจะสามารถเห็นความแตกต่างของใบหน้ามารดา กับใบหน้าบุคคลอื่นที่ไม่เคยพบได้และเมื่ออายุได้ประมาณ 1-2 ขวบทารกจะสามารถแยกแยะสิงของที่ที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันได้และแยกความแตกต่างระหว่างเสียงของสัตว์ เสียงของรถ และเสียงอื่นๆได้ ในช่าวงปลายปีที่ 2 ของชีวิตก็จะสามารถแสดงความชอบสิ่งที่รับรู้ได้ เช่น ชอบรสหวาน ชอบสีบางสี หรือเสียงบางเสียงเป็นต้น
                กาเรียนรู้ของทารกเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นหลักทารกตองใชเวลาประมาณเกือบปีจึงจะพูดได้โดยปกติแล้วทารกจะใช้เวลาในการพัฒนาทางด้านการพูดประมาณ 6 ปีโดยในช่วงปลายเดื่อนที่ 4 จะทำเสียงอือ ออ เมื่อเกิดความพึงพอใจและเมื่ออายุ 7-11 เดือนจะเลียนเสียงได้ถูกต้องชัดเจนขึ้น แต่ต้องใช้ท่าทางประกอบ หรือบางคำผู้ใหญ่ใกล้ชิดถึงจะรู้เรื่อง เช่น หม่ำ ป๊ะ ม๊ะ เป็นต้นโดยจะพูดได้จริงและเข้าใจความหมายของคำที่พูดเมื่ออายุ 1-2 ขวบ โดยเริ่มแรกจะเป็นพยางค์เดียวเช่น อุ้ม ไป ต่อมาจึงจะเริ่มพูดเป็นประโยชน์วลีหรือประโยคสั้นๆได้
3.พัฒนาการทางด้านอารมณ์ แรกเกิดนั้นอารมณ์ของทารกที่สังเกตได้จะเป็นอารมณ์สงบหรืออารมณ์ตื่นเต้นเท่านั้น ต่อมาจะแยกแยะได้มากขึ้นตามอิทธิพลของสิ่งเร้า เช่น ความกลัว ความเกลียด เบิกบาน ร่าเริง เป็นต้น โดยทั่วไปอารมณ์ของทารกที่พบคือ อารมณ์รัก โกธร กลัว เบิกบานและอยากรู้อยากเห็น
4.พัฒนาการทางด้านสังคม ในระยะ 2-3 เดือนแรกของชีวิต ทารกจะแสดงออกโดยสบตา การส่งเสียอือออ ต่อมาอายุได้ 6-7 เดือน จะแสดงความสนใจหรือผูกพันกับคนใกล้ชิดโดยเฉพาะมารดา
5.พัฒนาการทางด้านบุคคลิกภาพ เป็นไปตามวิธีการโต้ตอบชงพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูที่มีต่อทารก เช่น มารดาที่รักลูกแนบอก ทำใหทารกเกืดความเชื่อมั่น และไว้วางใจต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากมารดาแสดงออกอย่างเย็นชา หรือกระแทกกระทั้น ทารกจะรับรู้ได้ และมีการรู้สึกขาดความเชื่อมั่น และมองโลกแง่ร้ายได้ในอนาคต
2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยเด็ก               
2.1 ช่วงของเด็ก
วัยเด็กหมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 2-12 ขวบโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2ช่วงใหญ่ๆ คือ ช่วงเด็กวัยเรียน ซึ่งแต่ละช่ววัยนั้นจะมีการเจริณเติยชบโตและพัฒนาการแตกต่างกัน ดังนี้
2.2 การเจริญเติบโตและพัณนาการของเด็กวัยก่อนเรียน
                1. ระยะแรก อายุ 2-3 ปีหรือเรียกว่า วัยเด็กเล็ก หรือเตาะแตะ
                2.ระยะที่สองอายุ 4-5 ปีเรียกว่า วัยเด็กหรือ วัยอนุบาล
1.การเจริญเติบโตทางด้านร่างการ
1.1 การเจริญเติบโตของร่างกาย
              1.  การเจริญเติบโตของร่างกายโดยทั่วไป รูปร่างและสัดส่วนของเด็กวัยก่อนเรียนจะเปลี่ยนไปจากวัยทารกมาก รูปร่างเดิมที่เคยอ้วนกลม ศีรษะใหญ่ และสั้นในวัยทารกนั้น จะค่อยๆ ยืดตัวออก ใบหน้าและศีรษะจะเล็กลงเมื่อเปรียบเทียบกับขนากของลำตัว วฃส่วนแขน ขา  
                2.น้ำหนัก ส่วนใหญ่มาจากการเจรฺญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่โดยพบว่า เราอาจที่จะประมาณค่าน้ำหนักของเด็กวัยก่อนเรียนที่เพิ่มขึ้นตามอายุได้
                3.ส่วนสูง โดยเฉลี่ยล้วจะมีความสูงเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 7.5 เซนติเมตร โดยฉลี่ยอายุ 2ขวบนั้น จะมีความสูงประมาณ 1.75 เท่าความยาวแรกเกิด คือประมาณ 85-89 เซนติเมตร
                4.ศีรษะละสมอง เส้นรอบศีรษะเด็กก่อนวัยเรียนจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นเมื่อมีอายุ 3 ปี ศีรษะของเด็กจะโตเป็นร้อยละ 90 ชองศีรษะผู้ใหญ่
                5.ฟัน เมื่อเด็กก้าวสู้วัยก่อนเรียน จะมีฟันน้ำนมงอกออกมาครบ 20 ซี่ เมื่ออายุได้ประมาณ 2 ปีและฟันแท้จะเริ่มขึ้นปลายของวัยเด็ก คืออายุประมาณ 6 ปี
                1.2 พัฒนาการของร่างกาย
                1.อายุ 2 ปีจะเริ่มวิ่งได้อย่างดี สามารถที่จเตะฟุตบอล ดยนลูกบอลได้ ชี้บอกส่วนบของอวัยวะต่างๆของร่างกายได้
                2.อายุ 3 ปี เด็กในอายุขนาดนี้จะสามารถปีนป่ายและกระโดนโหนได้ เดินถอยหลัง ขี่รถสามล้อถีบ
                3.อายุ 4 ปีจะสามารถเดินสลับขาขึ้นบันไดได้ กระโดดข้ามสิ่งของ หรือกระโดดขาเดียวได้ รวมถึงการเขย่งลายเท้าก็สามารทำได้เช่นกัน
                4.อายุ 5 ปีเด็กสามารถกระโดดสลับขา หรือกรธโดดเชื่อกได้ เต้นเป็นจังหวะ รวมถึงมีความสามารถในการทรงตัวเป็นอย่างดี
                5.อายุได้ 6 ปี ในอายุขนาดนี้ เด็กวัยก่อนเรียน จะสามารถโดดจากที่สูง และสมารเล่นฟุตบอลแบบคนโตได้ มีความสามารถในการทรงตัวมากยิ่งขึ้น
                2. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่มีอารมณ์ค่อนข้างรุ่นแรงมาก เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ก็จะแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างชัดเจน ล้มตัวลงนอนไปกับพื้น ดิ้นเร่าๆ ทุบตีผู้อื่น หรือกรีดร้องเสียดัง โดยลักษณะอารมณ์ของเด็กจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ล้วก็หายเปลี่ยนแปลงได้ง่ายมาก พัฒนาทางอารมณ์ของเด็กในวัยนี้จะไม่สารมารถจำแนกออกเป็นช่วงอายุในแต่ละปีได้อย่างชัดเจนนัก หากแต่พบว่าเมื่ออายุ 2-3 ปีเด็กจะมีอารมณ์อิจฉาริษยา โดยอารมณ์นี้จะลดลงเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
                3.พัฒนาการทางด้านสังคม เป็นวัยที่เริ่มแนตัวของตัวเองมากขึ้น มีความต้องการเป็นอิสระ ดังนั้นจึงเริ่มออกห่างจากพ่อแม่ ชอบที่จะมีเพื่อนเล่น จะเห็นว่าในช่วงต้นๆจะเล่นแบบต่างคนต่างเล่น แต่เล่นอยู่ในบริเวณเดียกัน และอายุมากขึ้นจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่มและจะเปลี่ยนเรื่อยๆ ตามลักษณะที่ตัวเองสนใจ
                4.พัฒนาการทางด้านสติปัญญา โดยทั่วไปแล้ว พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กก่อนวัยเรียนจะเป็นไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น
                5.พัฒนาการทางด้านจริยะธรรม เด็กอายุ 3 ขวบยังไม่รู้ว่าอะไรคือความผิดหรือความถูกต้องสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์ง่ายๆ รู้ว่าตนเองทำอะไรบางอย่างไม่ได้ เช่น ตนจะเตะเตาไฟไม่ได้ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเข้าใจในเรื่องของความดี หรือความไม่ดีก็ได้ก็ตาม แต่เด็กเรียนรู้ว่าเขาจะเป็นเด็กดี เมื่อเขาประพฤติดีหรือประพฤติตามที่พ่อแม่บอกให้ทำ และเขาจะกลายเป็นเด็กไม่ดีเมื่อเขาประพฤติหรือกระทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่อนุญาตให้ทำ
2.3  การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน
                เด็กวัยเรียน ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 6-12 ขวบ คือเริ่มตั้งแต่เข้าเรียนประถมศึกษา จนเข้าวัยรุ่น เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างกว้างขวางกว่าเด็กกก่อนเรียน  โดยมีอิทธิพลมาจาก  2  แหล่งด้วยกันคือ

  1. อิทธิพลจากครอบครัว  ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่  พี่น้องกับตัวเด็ก  จะมีผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กโดยเฉพาะด้านจิตใจ
  2. อิทธิพลจากโรงเรียน  โดนเฉพาะระหว่างครูกับเด็กและความสัมพันธ์ในระหว่างกลุ่มเพื่อน
  3. พัฒนาการด้านร่างกาย  โดยส่วนใหญ่การเจริญเตินโตด้านร่างกายจะเริ่มช้าลง  ส่วนสูงจะเพิ่มร้อยละ 5-6 ต่อปี   ปละเป็นร้อยละ 10  เมื่ออายุ 11-12  ขวบ  โดยจะไปเพิ่มอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่น  โดยทั่วไปพบว่าเด็กชายจะมีส่วนสูงมากกว่าเด็กผู้หญิงในช่วงอายุ 6-10 ขวบ  จากนั้นเด็กหญิงจะมีส่วนสูงมากกว่า  เมื่ออายุ 11-15 ปี  เด็กในวัยนี้จะมีการใช้กล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  โดยพบว่าเด็กชายจะมีความแข็งแรง  ความว่องไวมากกว่าและมีโครงสร้างของร่างกายใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากกว่าในเรื่องของฟันนั้นพบว่าฟันน้ำนมจะเริ่มหักเมื่อมีอายุประมาณ  6 ขวบและจะมีฟันแท้ขึ้นครบเมื่ออายุประมาณ 18-30  ปี

2.พํฒนาการทางด้านอารมณ์สังตม เด็กจะต้องมีการปนรับตัวอย่างมากในช่วงต้นชองวัย เนื่องจากการเข้าโรงรียนจะต้องมีการปรับตัวเข้ากับครู เพื่อน และบรรยากาศในโรงเรีย ซึ่งแตกต่างออกไปจากบรรยากศที่บ้าน โดยเด็กมักจะมีความเครียดอย่างมาก คิดว่าพ่อแม่ไม่รักตน การไปโรงเรียคือการทำโทษ เด็กจะรู้สึกโดดเดี่ยว ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจ และต้องเตรียมความพร้อมให้เด็กล่วงหน้าก่อนจะเข้าโรงเรียน และคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กเกิดปัญหาในการเรียนหรือการเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่โรงเรียน
                3.พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เด็กเกิดกระบวนการคิดมากขึ้น สามารถเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดีขึ้น มีความเข้าใจในภาษาพูดมากขึ้และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 6-9ขวบ เด็กจะมีความสามารถในการใช้ภาษาอาศัยภาพเป็นสื่อเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การเรียนรู้ที่มีรูปภาพประกอบจึงช่วยดึงดูดความสนใจของด็กอย่างมากและเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นก็จะสามารถใช้ภาษาได้ดีมากขึ้น โดยในช่วงอายุ 10-12 ขวบ เด็กจะเริ่มมีแนวคิดของตนเอง สามารถประเมิณสถานการณ์และตัดสินใจเองได้ มีลักษณะหุนหันพลันแล่นน้อยลง ชอบกิจกรรมรู้จักวางแผนและมีความมคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย
                                3. สรุป
                การเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกช่วงวัยของชีวิตโดยฉพาะในช่วงวัยทารกและวัยเก ที่ต้องมีการปรับตัวอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น วัยทารกแบ่งออกเป็นช่วงวัยต่างๆได้ 2 ช่วงคือ วัยทารกแรกเกิดซึ่งนับตั้งแต่คลอดจนถึง 2 สัปดาห์ จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ บุคลิกภาพ การปรับตัว และวัยทารก นับตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์ถึง 2 ปีจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ สังคม บุคคิกภาพ ส่วนวัยเด็กแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเด็กก่อนวันเรียนและช่วงเด็กวัยเรียน ซึ่งจะมีการพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจริยธรรม โดยอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่จะมีการพัฒนาการอย่างเป็นระเบียบและมีแบบแผน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
        การเจริญเติบโตและพัฒนาการถือว่าเป็นสิ่งที่ควบคู่กับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งมีอิทธิพลมาจากพันธุกรรม หรือเชื้อชาติ อันเป็นลักษณะติดตัวมาแต่กำเนิด และอิทธิพลที่มาจากสิ่งแวดล้อม เช่นสิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ภาวะโภชนาการ ความสำพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว  ฯลฯ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยทารกและวัยเด็กถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อรูปแบบของวิถีการชีวิตในอนาคต ซึ่งพบว่ามีปัจจัยต่างๆ หลายประการที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของช่วงวัยดังกล่าว ได้แก่ พันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะโภชนาการ ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ระดับเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางอารมณ์ของเด็ก การเจ็บป่วย และฤดูการโดยปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวนี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยทารกและวัยเด็กร่วมกัน มิใช่เกิดขึ้นโดยปัจจัยหนึ่งเพียงปัจจัยเดียว
        การเจรฺญเติบโตและพัฒนาการ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลมอดชีวิตของคนเรา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านของโครงสร้าง ความ สามารถ ทักษะในการทำหน้าที่ทั้งในส่วนของร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆรอบข้าง โดยจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นๆ จากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่ง มีการเพิ่มขึ้นของขนาด มีลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันมีการพัฒนาความสามารถทางความคิดที่จะแก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น เช่น ในวัยเด็ก เมื่อมีความต้องการแล้วไม่ได้รับการสนอง เด็กก็จะร้องไห้ หรือแสดงอา การที่บ่งบอกถึงความไม่พอใจต่างๆเช่น การดิ้น แต่เมื่อโตขึ้นอาการดังกล่าวจะลดน้อยลง โดยริเริ่มมีความคิด วิเคราะห์ และใช้เหตุผลในการแสดงออกมากขึ้น
        นอกจากนี้ ยังพบว่าพัฒนาการยังรวมไปถึง การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นด้วย แต่ในขนาดเดียวกันพัฒนาการเองนั้น ก็มีความหมายรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเสื่อมถอยได้เช่นกัน เช่น เมื่อพ้นวัยทารกขนอ่อนจะหายไป หรือเมื่อถึงวัยชรา ผมจะเปลี่ยนสีขาว มีความเสื่อมถอยของโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยลักษณะดังกล่าว อาจถือได้ว่าเป็นพัฒนาการในช่วงวัยชีวิตของวัยชราได้เช่นกัน
๑. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
   ๑.๑ ความหมายของการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
         การเจริญเติบโต (Growth) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในทางปริมาณ โดยเฉพาะการเพิ่มขนาดและโครงสร้างในวัยทารกและวัยเด็กนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ในด้านน้ำหนัก ส่วนสูงและรูปร่างให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างร่างกายภายนอกเท่านั้น หากแต่รวมถึงการเพิ่มขนาดของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และรวมถึงสมอองที่มีการเจริญเติบโตขึ้นอีกด้วย ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
        พัฒนาการ(Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในทางเจริญก้าวหน้า ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีขั้นตอนตามลำดับ มีทิศทางที่แน่นอน เป็นระบบระเบียบ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่นถ้ามีพัฒนาการในด้านการติดต่อสื่อสารดี สามารถพูดคุย อธิบาย และสร้างความเข้าใจกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม ก็น่าจะมีพัฒนาการทางสังคมดี สามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์ได้อย่าต่อเนื่อง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขในอนาคต
        เป้าหมายของการเจริญเติบโตและพัฒนาการ คือ มารบรรลุถึงความสามารถสูงสุดที่บุคคลคนหนึ่งจะสามารถแสดงออกมาได้อย่างเต็มขีดความสามารถของตนเอง ซึ่งในแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การที่เราไม่มีขีดความสามารถในการทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีขีดความสามารถอื่นๆ คนคนหนึ่งอาจมีความสามารถในการจดจำได้ดี สามารถเรียนจนได้คะแนนดีก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีความจำที่ดี จะเป็นคนที่มีความสามารถ เขาอาจจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในทางด้านอื่นๆ เช่น ร้องเพลงหรือการเล่นกีฬาก็ได้ และการบรรลุเป้าหมายของการเจริญเติบโตและพัฒนาการนั้นขันอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งจากสิ่งที่อยู่ภายในตัวของตัวเราเอง และจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
๑.๒ ประเภทการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
กาเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็น ๕ ด้านด้วยกัน คือ

  1. พัฒนาการทางด้านชีวภาพ ปรากฏใน ๒ ลักษณะ คือ

  ๑.๑) การพัฒนาจากศีรษะไปสู่ปลายเท้า คือ ส่วนบนของร่างกายพัฒนาก่อน แล้วแผ่ขยายมาสู่ปลายเท้า ซึ่งจัดเป็นไปอย่างรวดเร็วในส่วนบน แล้วค่อยๆ ช้าลงในส่วนล่าง เป็นกาพัฒนาในด้านของโครงสร้าง และการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ
  ๑.๒)การพัฒนาจากกลางลำตัวไปสู่ส่วนปลาย โดยการเริ่มตั้งแต่ส่วนที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางชองลำตัวออกไปสู่ปลาย เช่น ศีรษะและลำตัวพัฒนาขึ้นก่อน แล้วจึงมีอวัยวะส่วนแขน ขา เกิดขึ้นมา เป็นต้น
อารมณ์สมมารถแสดงออกได้ทางสีหน้าหรือท่าทาง เช่น ยิ้ม หัวเราะ  ร้องไห้ เศร้า เป็นต้น
๒)พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จะเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอด โดยพบว่าเด็กที่คลอดเพียง ๒ วัน สามารถที่จะเลียนแบบการแสดงออกของสีหน้า ท่าทางของผู้ใหญ่ได้ แสดงว่าเด็กอาจเริ่มรับรู้ถึงอารมณ์ที่แสดงออกมาทางสีหน้าหรือท่าทางได้ ดังนั้น ถ้าเด็กถูกเลี้ยงมาโดยพ่อแม่ที่มีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว เด็กก็จะเป็นคนโมโหง่าย เกรี้ยวกราด ควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้ หรือถ้าพ่อแม่เป็นคนที่อารมณ์ซึมเศร้า เด็กก็จะเป็นคนที่มีบุคลิกลักษณะซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วเด็กจะสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อมีอายุ ๖-๗ ปี และสามารถที่จะแสดงอาการเสแสร้ง หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ตรงอารมณ์ของตนเองได้ เมื่อมีอายประมาณ ๑๐-๑๒ ปี ในเรื่องของพัฒนาการทางด้านอารมณ์นี้ ปัจจุบันเราให้ความสำคัญ โดยมีการส่งเสริมให้เด็กมีความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ หรือเรียกว่า อีคิว (EQ) มากขึ้น
๓) พัฒนาการทางด้านสติปัญญา สามารถวัดได้จากความสามารถทางภาษาและความสามารถในการจัดกระทำสิ่งต่างๆอย่างมีจุดหมาย ความสามารถทางสติปัญญานั้นสามารถแสดงออกมาในรูปที่เราเรียกว่า ไอคิว (EQ) โดยไอคิวนี้เป็นดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงความสามารถทางสติปัญญาในวัยผู้ใหญ่ได้
๔)พัฒนาการทางด้านสังคม ขันอยู่ว่าพัฒนาการทางด้านกายภาพ พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเป็นอย่างไร ถ้าพัฒนาการทั้ง ๓ ด้าน หรือด้านใดด้านหนึ่งบกพร่อง ก็อาจทำให้พัฒนาการทางด้านสังคมของบุคคลนั้นบกพร่องด้วยเช่นกัน โดยพบว่าบทบาทของครอบครัวมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการในด้านสังคมของเด็ก หากเด็กเกิดและเติบโตอยู่ในครอบครัวที่มีความอบอุ่น มีความรัก มีความเข้าใจแล้ว เด็กจะมีพัฒนาการทางสังคมที่ดี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และมีความหวังในชีวิต แต่ถ้าอยู่ในครอบครัวที่มีความแตกแยก เด็กก็จะขาดพัฒนาการทางสังคมที่ถูกต้อง ซึ่งพบว่าปัญหาเหล่านี้ กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน ดังที่สามารถพบเห็นเด็กเร่ร่อนได้โดยทั่วไปในสังคมเมืองใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะขาดพัฒนาการทางสังคมอย่างถูกต้อง ขาดความไว้วางใจต่อผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมามากมาย เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการขายบริการทางเพศ และอาจลุกลามเป็นปัญหาอาชญากรรมที่ร้ายแรงได้ในที่สุด
๕)พัฒนาการทางด้านจิตวิญญาณ คือการที่บุคลสามารถแสวงหาแนวทางแห่งการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับสภาวะของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งพัฒนาการทางด้านนี้จะต้องผสานสัมพันธ์กับพัฒนาการในด้านอื่นๆ ทั้ง ๔ ด้านด้วยเช่นกัน
๒.ลักษณะสำคัญของพัฒนาการ
        สามารถแยกได้ 2 ประเด็นใหญ่ คือ ลักษณะของพัฒนาการที่เหมือนกัน หรือมีลักษณะร่วมกันและลักษณะเฉพาะของพัฒนาการที่แตกต่างกัน
๒.๑)ลักษณะของพัฒนาการที่เหมือนกันหรือมีลักษณะร่วมกัน  จะมีลักษณะร่วมกันอยู่ ๔ ประการคือ
๑)เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านขนาด  ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆปีโดยเด็กจะค่อยๆ สูงขึ้นมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น รูปร่างขยายใหญ่ขึ้น และรวมถึงอวัยวะภายในที่อยู่ในร่างกาย เช่น หัวใจ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร เป็นต้น ก็จะขยายใหญ่ขึ้นเช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของร่างกายที่เพิ่มขึ้นและสำหรับพัฒนาการทางด้านสติปัญญานั้นก็พบว่ามีเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น สามารถใช้เหตุผล มีความจำ สามารถรับรู้ มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น
๒) การเปลี่ยนแปลงทางด้านสัดส่วน  ขนาดของศีรษะของเด็กเมื่อแรกเกิดจะเป็น ๑/๔ของความยาวของหัวจรดเท้า แต่ขนาดของศีรษะของผู้ใหญ่จะเป็น ๑/๘ของความยาวของหัวจรดเท้าโดยปกติและเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ ๑๓ปี สัดส่วนของร่างกายจะใกล้เคียงกับสัดส่วนร่างกายของผู้ใหญ่
๓) ลักษณะเดิมหายไป เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ลักษณะที่มีอยู่เดิมหายไป เช่น ฟันน้ำนมแชะขนอ่อนจะหายไป เป็นต้น หรือในด้านของสมองจะเห็นได้ว่า เมื่อเด็กๆพูดไม่ชัด เมื่อโตขึ้นก็สามารถพูดได้ชัดเจน  มีความเข้าใจในความหมายต่างๆ มากขึ้น หรือจากการที่ในวัยเด็กมีการเคลื่อนที่ด้วยการคลาน เปลี่ยนมาเป็นกาน ยืน เดิน และวิ่งตามลำดับ เป็นต้น
๔) มีลักษณะใหม่ๆเกิดขึ้น  โดยอาจเป็นผลจากวุฒิภาวะ หรือการเรียนรู้ก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าพัฒนาการทางด้านร่างกายจะเกิดขึ้นเนื่องจากวุฒิภาวะเป็นหลัก เช่น การที่เด็กมีฟันแท้เกิดขึ้นมาแทนฟันน้ำนมเมื่อมีอายุ ๖ ปี หรือการที่วัยรุ่นมีขนเกิดขึ้นตามอวัยวะเพศหรือรักแร้ การที่เด็กชายมีหนวดเครา และเกิดการหลั่งอสุจิขึ้น หรือในเด็กหญิงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรวดทรง หรือมีประจำเดือนที่อย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เป็นต้น ในขณะที่การเรียนรู้จะเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมอง เช่น การศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ทำให้มีความเชื่อมั่นตนเอง และความคิดเห็นที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เป็นต้น
๒.๒) ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการที่แตกต่าง
๑) มนุษย์ทุกคนมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เป็นรูปแบบของตนเอง  หมายความว่า เด็กคนหนึ่งอาจจะมีการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือในอัตราที่เท่าเทียมกันกับเพื่อน  ของเขาที่อยู่ในวัยเดียวกันก็ได้
๒)อัตราของพัฒนาการนั้นจะแตกต่างกันออกไป  โดยพบว่า เด็กหญิงจะมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเด็กชาย และแม้แต่มนุษย์ที่มีอายุเท่ากัน ก็อาจจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ได้ เช่น พบว่าในห้องเรียนที่มีเด็กอายุใกล้เคียงหรือเท่ากัน เด็กเหล่านี้ก็จะมีส่วนสูง น้ำหนัก หรือลักษณะทางกายภาพ ที่แตกต่างกันซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
   ๓)สาเหตุที่ทำให้พัฒนาการเร็วหรือช้า  
พัฒนาการจะเห็นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ ๒ ประการ ดังนี้
๓.๑วุฒิภาวะ
         เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นมาตามลำดับของแต่ช่วงอายุ เด็กก็จะมีลักษณะอย่างหนึ่งแสดงออกมาให้เห็น เช่น การเปลี่ยนปลงที่เด็กอย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ในเด็กชายเราจะเห็นว่ามีเสียงแตก เริ่มมีขน มีหนวดเครา ฯลฯ และทัศนคติที่มีต่อเพศตรงข้ามก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลง มีความสนใจต่อเพศตรงข้ามมากขึ้น ซึ่งเหล่านี้เป็นผลที่เกิดขึ้จากการมีภาวะพร้อมที่จะแสดงออกนั่นเอง
๑.๒ การเรียนรู้
        พัฒนาการบางอย่างเป็นผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ เช่น หากเด็กมีการเรียนรู้ในเรื่องของการออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วหรือการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ ส่งผลให้มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม มีประโยชน์ต่อร่างกายทำให้ร่างกายสูงใหญ่ ดังเช่นในอดีต สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พบว่าคนญี่ป่นมีรูปร่างเตี้ย แคระกว่าคนไทย แต่หลังสงครามคนญี่ปุ่นให้ความสนใจในเรื่องของภาวะโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างมาก จนในปัจจุบันคนญี่ปุ่นมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทยแล้ว เป็นต้น
๔.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์นั้น เป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยหลัก ๒ ปัจจัย คือ ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
๔.๑ อิทธิพลทางด้านสิ่งแวดล้อม
        ในบางครั้งเราคงเคยได้ยินใครบางคนกล่าวถึงเด็กคนหนึ่งว่ามีหน้าตาคล้ายพ่อหรือแม่ของเขามากเหลือเกิน สิ่งเหล่านี้ของผลทางพันธุกรรม ซึ่งพ่อแม่ได้ถ่ายทอดบุคลิกลักษณะของเขาไปสู่ลูกผ่านโดยทางยีนนั่นเอง และพันธุกรรมยังรวมถึงลักษณะทางกายภาพ บุคลิก รวมถึงโรคบางโรคที่มีการถ่ายทอลุ่มเลือด ทางพันธุกรรมได้เช่นกัน พันธุกรรมจะเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตลักษณะเละความสามารถของมนุษย์ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดและรูปร่างของร่างกาย สีผิว สีตา รูปหน้า สีผม ความเฉียวฉลาด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
๔.๒ อิทธิพลทางสิ่งแวดล้อม
        สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงบุคคลต่างๆ ด้วย สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการชองมนุษย์ คือ ภาวะโภชนาการ การออกกำลังกาย สภาพภูมิอากาศ ครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อน รวมถึงการศึกษา และสื่อต่างๆที่เกี่ยวข้อง
๕. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของวัยทารกและวัยเด็ก
        วัยทารกและวัยเด็กถือว่าเป็นวัยเริ่มต้นที่สำคัญของพัฒนาการมนุษย์ โดยวัยทารกนั้นนับตั้งแต่เริ่มคลอดจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๒ ขวบ วัยนี้เป็นวัยที่มีการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และมีการตอบสนองความต้องการที่แตกต่างจากวัยอื่น ในขณะที่วัยเด็กนั้น นับตั้งแต่ช่วงอายุ ๒-๑๒ ขวบ วัยนี้เป็นวัยเริ่มต้นของการที่จะก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
        ทารกและเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ มิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยมีปัจจัยที่สำคัญดังนี้
๕.๑พันธุกรรม
        ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดให้บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันโดยพบว่าพันธุกรรมมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันในด้านพื้นฐานทางด้านอารมณ์และสติปัญญา พบว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของพันธุกรรมถึงประมาณร้อยละ ๖๐ นอกจากนี้ยังพบว่าพันธุกรรมยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของอวัยวะต่างๆต่อสิ่งเร้าทุกชนิด อาทิเช่น ฮอร์โมน สารอาหาร ฯลฯ รวมถึงการเกิดความผิดปกติของอวัยวะขณะที่กำลังเจริญเติบโตด้วย เช่นกัน
๕.๒ เชื่อชาติ
        เชื้อสายชาติมีอิทธิพลต่อโครงร่าง ของมนุษย์ เช่น ฝรั่งจะมีโรงร่างสูงฬหญ่กว่าคนในแถบเอเชีย เป็นต้น
๕.๓ ฮอร์โมน
        ฮอร์โมนเป็นตัวสำคัญที่จะกระตุ้นทำให้ร่างกานเจริญเติบโต ฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยทารกและวัยเด็กที่สำคัญมีอยู่ ๒ ชนิด คือ

  1. ธัยรอยด์ฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลมากในระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์
  2. โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กภายหลังเกิด

๕.๔ ภาวะโภชนาการ
        ภาวะโภชนาการมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทั้งในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเป็นทารก หรืออยู่ในช่วงวัยเด็ก และถ้าได้รับอาหารไม่ถูกส่วน ก็จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักและเป็นโรคต่างๆได้
๕.๕ความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว
        ในครอบครัวที่พ่อแม่มีความพร้อม มีอายุที่เหมาะสม ไม่มีเรื่องขัดแย้งในครอบครัว เด็กจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี มีความอบอุ่นและพัฒนาการที่ดี แต่ถ้าพ่อแม่มีความขัดแย้งกัน หรือมีการใช้กำลังกันในครอบครัว เด็กก็มีพัฒนาการที่ล่าช้า และเกิดความขัดแย้งต่อบุคลิกภาพในที่สุด เนื่องจากความรุนแรงเล่านั้นจะถ่ายทอดสู่เด็กไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การทดทิ้งเด็ก การทำร้ายร่ากาย เป็นต้น
๕.๖ระดับเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
ระดับเศรษฐกิจและสังคมของพ่อแม่มีผลอย่างมากต่อกรเลี้ยงดูลูก ครอบครัวที่มีรายได้น้อยก็จะขาดโอกาสในการตอบสนองความต้องการที่จำเป็นของลูก ทั้งในเรื่องงานโภชนาการและภาวะจิตใจเนื่องจากต้องทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เด็กมักจะถูกทอดทิ้ง เกิดผลเสียทั้งทางกายและจิตต่อเด็ก
๕.๗วิธีการขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
        วิธีการเลี้ยงดูเด็ก และการดำเนินชีวิตเป็นผลทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม คนไทยสมัยก่อนมักเลี้ยงดูเด็กแบบทะนุถนอมและให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูจนโต ทำให้เด็กมีลักษณะอ่อนโยน เชื่อฟังผู้ใหญ่ แต่ขาดความมั่นใจในตนเอง หรือที่เรียกว่า “เลี้ยงไม่โต”ในขณะที่สังคมปัจจุบัน เด็กจะกล้าแสดงออกมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบของการเลี้ยงดูเปลี่ยนไป
๕.๘ สภาพแวดล้อมทางอารมณ์ของเด็ก
        สภาพแวดล้อมในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็ก วิธีอบรมเลี้ยงดูมีผลกระทบต่ออารมณ์ของเด็กมาก เด็กที่ไม่ได้รับความอบอุ่นจากแม่ จะเกิดปัญหาการไม่เจริญเติบโต และเสียชีวิตได้จากการขาดสารอาหารและโรดติดเชื้อเข้าแทรกซ้อนได้ง่าย
๕.๙ การเจ็บป่วย
        การเจ็บป่วยหรือการเกิดโรค รวมทั้งการได้รับบาดเจ็บต่างๆ ทำให้การเจริญเติบโต และพัฒนาการชะงักงัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง หรือโรคที่มีผลต่อการเจริญของกระดูกและกล้ามเนื้อโดยตรง เช่น โปลิโอ อุบัติเหตุต่อกล้ามเนื้อกระดูก ฯลฯ เหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัยทารกและวัยเด็ก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก ระบบสาธารณสุขที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการบริการทางด้านอนามัยแม่แลเด็กที่ไม่ครอบคลุม
๕.๑๐ ฤดูกาล
ได้มีผู้ศึกษาและให้ข้อสังเกตไว้ว่า น้ำหนักและส่วนสูงของเด็กมีอัตราเพิ่มแตกต่างกันในฤดูกาลต่างๆ และสรุปได้ว่า ดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตถึงวุฒิภาวะ
๒.สรุป
การที่วัยทารกหรือวัยเด็กจะมีการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการเร็วหรือช้า เหมาะสมกับวัยของตนเองหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน แต่โดยสรุปแล้วปัจจัยทั้งหมดนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มหลัก คือ กลุ่มปัจจัยทางด้านพันธุกรรม และกลุ่มปัจจัยทางด้านแวดล้อม โดยในช่วงทารก กลุ่มปัจจัยทางด้านพันธุกรรมจะมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการมากกว่า แต่เมื่อเด็กโตขึ้นเข้าสู่วัยก่อนวัยเรียน ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมจะเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ปัจจัยต่างๆ จะต้องเอื้อหรือเสริมกันอย่างเหมาะสม จึงจะทำให้วัยทารกและวัยเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ที่สุด       
ลักษณะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

  1. การเจริญเติบโตและพัฒนา

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางกายที่สำคัญๆ คือในเรื่องของโครงกระดูก  ส่วนสูง  น้ำหนัก ตลอดจนต่อมไร้ท่อต่าง ๆ ดังนี้
                                การเปลี่ยนแปลงทางกระดูก  เมื่อเด็กอายุ 13-14 ปี  กระดูกจะแข็งแรงขึ้นการเจริญเติบโตของกระดูกในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป  เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตด้านอื่นๆของร่างกาย เด็กชายที่มีอายุ 14 ปีไปแล้ว  จะมีกระดูกข้อมือที่ใหญ่กว่าเด็กหญิง  แต่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยกว่า  และเมื่อถึงขั้นที่มีวุฒิภาวะทางเพศ  ก็จะมีกระดูกข้อมือที่มีพัฒนาการเท่ากัน  ทั้งในเรื่องของความหนาแน่นและความแข็งของกระดูก  อวัยวะต่างๆ  เริ่มเคลื่อนไหว  และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                ส่วนสูงและน้ำหนัก  เด็กชายอายุ 14 ปี ส่วนใหญ่มีขนาดรูปร่างขยายขึ้นเห็นได้ชัด  เป็นวัยที่ทีความเจริญเติบโตทางด้านส่วนสูงอย่างรวดเร็วที่สุด  เด็กจะเริ่มเกิดความกังวลในเรื่องส่วนสูงของตนเองมากขึ้น  ส่วนในเรื่องน้ำหนักนั้น  ในวัยรุ่นตอนต้น  เด็กหญิงจะเริ่มหนักกว่าเด็กชายเล็กน้อย  และพอถึงวัยรุ่นตอนกลาง  เด็กชายจะเริ่มมีน้ำหนักมากกว่าเด็กหญิง  และจะรักษาระดับน้ำหนักที่มากกว่าเด็กหญิงนี้ไปเรื่อยๆ  จนถึงวัยผู้ใหญ่
                                ต่อมไร้ท่อ  มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่างๆ  ที่จะช่วยในการพัฒนาร่างกายของเด็กวัยรุ่นให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งมีดังนี้
                                                ต่อมไทรอยด์(Thyroid gland)เป็นต่อมเล็ก  มีคู่หนึ่งบนส่วนคอ  มีหน้าที่พิเศษในการเก็บธาตุไอโอดีน  ซึ่งนำมาสร้างฮอร์โมน  ที่มีชื่อว่า ไทรอกซิน(Thyroxin) เพื่อทำหน้าที่เผาผลาญอาหารในร่างกาย  และมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายด้วย
                                                ต่อมพาราไทรอยด์  (Parathyroid gland) เป็นต่อมเล็ก ๆ 4 ต่อม อยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์  มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
                                                ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary  gland)เป็นต่อมเล็ก ๆอยู่ใต้สมอง  ซึ่งทำงานน้อยไป  จะทำให้บุคคลนั้นเป็นคนเตี้ยแคระ  แต่หากทำงานมากไป  จะทำให้มีร่างกายใหญ่โตกว่าปกติ
                                                ต่อมแอดรีนัล (Adrenal gland)ต่อมนี้อยู่เหนือไตแต่ละข้าง  มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า แอดรีนาลีน(Adrenalin)ซึ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรง  มีความดันโลหิตสูง
                                                ต่อมเพศ(Sex of Goanad gland)หลังจากเด็กเข้าสู่วัยรุ่น  อวัยวะเพศของชายและหญิงเริ่มผลิตเซลล์สืบพันธุ์ นั่นคือ  อวัยวะเพศชายผลิตอสุจิ  และอวัยวะเพศหญิงผลิตไข่  นอกจากนี้ต่อมเพศยังผลิตฮอร์โมนที่จะทำให้เกิดพัฒนาการของลักษณะที่แสดงเพศหญิงและชายอีกด้วย
                                                ต่อมไทมัส และต่อมไพเนียล(Thymus and Pineal gland)ต่อมไทมัสตั้งอยู่เหนือหัวใจ  ส่วนต่อมไพเนียลตั้งอยู่ใกล้กับมันสมอง  โดยมีหน้าที่ในการสร้างภูมิต้านทานและสร้างอวัยวะเพศให้ถึงขั้นวุฒิภาวะในวัยเด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  และจะมีลักษณะเพศขั้นที่สองเกิดขึ้น เช่น วัยรุ่นหญิงจะมีหน้าอก  แขนขากลมกลึง  สะโพกผาย  มีขนที่อวัยวะเพศ เป็นต้น  ในขณะที่วัยรุ่นชาย  จะมีรูปร่างขยายใหญ่  กล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น มีหนวดเครา   มีขนที่หน้าแข้งและที่อวัยวะเพศ  เสียงแตกห้าง  เป็นต้น
2.  พัฒนาการทางด้านอารมณ์
                การเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายทั้งภายในและภายนอกกระทบต่อแบบแผนทางอารมณ์ของวัยรุ่นอย่างมาก  เด็กในวัยนี้จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายทั้งที่เป็นไปในด้านบวกและด้านลบ  ในด้านบวก  คือจะเป็นวัยที่มีจินตนาการ  มีความคิดสร้างสรรค์  กล้าแสดงออก  มีมนุษยสัมพันธ์    กับบุคคลรอบข้าง  ชอบสังคม  ในขณะที่ด้านลบ  จะพบว่าเป็นวัยที่มีความสับสน  อ่อนไหว  และไม่มั่นคงในทางอารมณ์  โดยอารมณ์ที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง  จนอาจกล่าวได้ว่าอารมณ์ของวัยรุ่นเป็นไปแบบ  พายุบุแคม(Storm and Stress) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอารมณ์ของวัยรุ่น  จะเป็นผลเนื่องจากปัจจัยหลายประการ  ได้แก่
                การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  เช่น  การที่ลักษณะทางเพศปรากฏชัดเจนขึ้น  จะทำให้เด็กมีความสนใจในเพศตรงข้าม  หากผู้ใหญ่ขัดขว้าง  ก็จะเกิดความเครียด  อารมณ์ไม่มั่นคง  นอกจากนี้  วัยรุ่นยังกังวลใจในเรื่องของการเจริญเติบโต เช่น  เด็กหญิงกังวลเรื่องเสื้อผ้า  ประจำเดือน  เด็กชายกังวล  เรื่องหนวดเครา  เสียง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความหงุดหงิดได้
                พ่อ แม่ โรงเรียน เพื่อน  การที่พ่อแม่สร้างกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ เกิดความขัดแย้งกับระเบียบวินัยมากขึ้น  ทำให้เวลาอยู่กับครอบครัว วัยรุ่นมักชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง  ไม่ต้องการให้ใครรบกวน  ในขณะที่โรงเรียนและเพื่อน  ก็เป็นสิ่งใหม่ที่เด็กจะต้องปรับตัวอย่างมาก  ทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจมากขึ้น  ซึ่งถ้าหากก้าวผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ก็จะทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่เป็นด้านบวกของวัยรุ่นมากขึ้น  ดังนั้น  พ่อ แม่ โรงเรียน  เพื่อนจึงเป็นผู้มีบทบาทอย่างมากที่จะก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านอารมณ์ในด้านบวกของวัยรุ่น
                                ฮอร์โมน มีส่วนทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงในเรื่องเพศ  ทำให้เด็กมีอารมณ์ไม่มั่นคง  ขาดความมั่นใจในตัวเอง  ทำอะไรไม่ถูกจากความไม่มั่นใจเหล่านี้  ทำให้เด็กหันไปหาเพื่อน  เพราะเข้าใจว่าเพื่อนเข้าใจเขาดีกว่า
                                ช่วงเปลี่ยนของวัย  วัยรุ่นเป็นระยะหัวเลี้ยงหัวต่อของชีวิต  เป็นระยะที่เด็กเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่  ทำให้เด็กเกิดความลังเล  ไม่แน่ใจไม่ทราบว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร
                                การที่เด็กต้องเลือกอาชีพ  เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต ในขณะที่ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความถนัดของตนเอง  รวมถึงความชอบ  ความสนใจ  ความต้องการและบุคลิกภาพของตนเอง
                                สภาพปัญหาของสังคมอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ปัญหาทางเศรษฐกิจที่บีบคัน  ปัญหาครอบครัว  และการขาดความอบอุ่นของครอบครัว  อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่สับสนได้
                                ลักษณะอารมณ์ของวัยรุ่น  จะเป็นไปอย่างรุนแรงและเปิดเผย  ตรงไปตรงมา  ในวันหนึ่งวัยรุ่นอาจจะมีความรู้สึกมั่นใจในตัวเอง  และจะมีความสุข  ในขณะที่วันรุ่งขึ้นอาจจะรู้สึกหดหู่  เต็มไปด้วย  ความสงสัยก็ได้  อารมณ์ที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นนั้นมีทุกประเภท  ซึ่งทั่วไปแล้ว  แยกได้ 3 ประเภท  คือ
                                1.  ประเภทก้าวร้าว  เช่น  อารมณ์โกรธ  อิจฉา  เกลียดชัง
                                2.  ประเภทเก็บกด  เช่น เกิดความกลัว  วิตกกังวล  เสร้าใจ หดหู่  เสียใจ
                                3.  ประเภทอารมณ์สนุก  เช่น  ความรัก  ชอบ สุขสบายใจ  พออกพอใจ  ตื้นเต้น
                   อารมณ์เหล่านี้  เปลี่ยนแปลงง่าย  วัยรุ่นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีพอ  ทำให้บุคคลต่างวัยจำเป็นที่จะต้องอดทนมากในการสร้างความเข้าใจและสัมพันธภาพ กับเด็กวัยรุ่นเช่นนี้  และเนื่องจากวัยรุ่นจะเข้ากับบุคคลวัยอื่นๆ ได้ยาก  จึงมักพบเห็นวัยรุ่นเกาะกลุ่มวัยรุ่นได้เองกว่าวัยอื่น ๆ
3.  พัฒนาการทางสังคม
                   เด็กวัยรุ่นจะเป็นวัยที่ไม่ชอบรวมกลุ่มกับสมาชิกในครอบครัวมากนัก  มักชอบอยู่ตามลำพังในกลุ่มของตัวเองมากกว่า  มีการเปลี่ยนแปลงในการเข้าสังคมค่อนข้างมาก  โดยทั่วไปแล้วจะพบว่ากลุ่มของเด็กชายจะมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มของเด็กหญิง  โดยการที่รวมกลุ่มจะเป็นไปตามความชอบ  และกิจกรรมต่าง ๆ  ที่กระทำร่วมกัน
                   เด็กวัยรุ่นที่เข้ากลุ่ม  จะมีความจงรักพักดีต่อกลุ่ม  ยอมรับเอาค่านิยมของกลุ่ม  ความเชื่อ  และความสนใจของกลุ่มมาเป็นของตนเองอย่างเต็มใจ  การรวมกลุ่มจะทำให้เด็กมีความรู้สึกอุ่นใจ  กล้าแสดงความคิดเห็นที่ขัดขืนต่อผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจ  เพื่อต่อต้านในกรณีที่เขาเห็นว่าไม่ยุติธรรม  ทำให้การรวมกลุ่มของวัยรุ่นนั้น  มีลักษณะของการสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในกลุ่มที่มากกว่าวัยอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วสามารถสรุปพฤติกรรมทางสังคมของวัยรุ่น  ได้ดังนี้
                                1.  มีการคบค้าสมาคมกับเพื่อนต่างเพศและเพศเดียวกัน
                                2.  มีการเที่ยวเตร่  เพื่อหาความรู้  ความบันเทิงใจ  เด็กวัยนี้ชอบที่จะเที่ยวเตร่กันเป็นหมู่คณะ  มากกว่าการเที่ยวตามลำพัง
                                3.  การแต่งกายของวัยรุ่น  ต้องเป็นไปตามสมัยนิยม  ต้องการให้เหมือนเพื่อน ๆ เพื่อหวังการยอมรับจากกลุ่ม  เช่น  เราจะพบเด็กวัยรุ่นที่นิยมแต่งตัวเลียบแบบดารา  หรือนักร้องที่เขาชื่นชอบ
                                4.  การแสวงหาเอกลักษณ์ของการเป็นคนเก่ง  การเป็นวีรบุรุษ  เด็กวัยรุ่นจะยอมรับและนับถือคนในเจตคติของเขา  และเลียบแบบพฤติกรรมที่เขาเห็นว่าดีงาม
3.  พัฒนาการทางความคิดและเชาว์ปัญญา
                   พัฒนาการทางความคิดของวัยรุ่นนั้น  เป็นผลมาจากคุณภาพของสมอง  พันธุกรรม  การเรียนรู้ในวัยที่ผ่านมา  และบทเรียนทางวิชาการต่าง ๆ ที่เด็กได้เรียนรู้  ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อหรือไม่เอื้อต่อการพัฒนาการทางความคิดของเด็ก  วัยรุ่นจะเริ่มมีความสามารถในการเปรียบเทียบตัวเองกับบุคคลอื่น  สามารถที่จะแบ่งแยกได้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี  อะไรควรจะทำตามหรือไม่  เริ่มมีการรู้จักใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง  ชอบสิ่งแปลกใหม่  ชอบใช้ภาษาที่กลุ่มของตนเองคิดขึ้น  โดนทั่วไปแล้วในกระบวนการพัฒนาทางความคิดและเชาวน์ปัญญานั้น  มีกระบวนการคิดแบบต่างๆมากมาย  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                                1.  รู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
                                2.  รู้จักคิดแบบวิทยาศาสตร์  ซึ่งรวมถึงการคิดวิเคราะห์  วิพากษ์วิจารณ์  คิดอย่างมีระเบียบแบบแผน  ต้องนึกคิดด้วยตัวเอง  เด็กในวัยนี้จึงรู้สึกต่อต้านต่อคำสั่งเชิงบังคับ  หรือคำสั่งที่ต้องให้เชื่อหรือคล้อยตามผู้ใหญ่อย่างมาก
                                3.  รู้จักที่จะตัดสินใจในเรื่องยาก ๆ มีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจของตนเองมากขึ้น
                                4.  มีความคิดรวบยอดในเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น  สามารถที่จะนำความรู้  และประสบการณ์ในอดีตมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้  และเริ่มมีการคาดหวังหรือวางแผนสำหรับอนาคต
                                5.  เข้าใจ  และมีความคิดรวบยอดเรื่องของทฤษฎี  กฎ  ระเบียบ  วินัยมากขึ้น  จึงสามารถที่จะเรียนรู้  และเข้าใจเรื่องเหล่านี้  ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้มากขึ้น  เช่น  การเล่นกีฬาและเกมที่มีวิธีการเล่นที่ซับซ้อนมากขึ้น
                                6.  มีความคิดในทางนามธรรมมากขึ้น  กล่าวคือไม่จำเป็นต้องเห็นของจริงก็สามารถที่จะจินตนาการ  เพื่อสร้างภาพในใจให้เกิดขึ้นได้  ตลอดจนสามารถที่จะนำภาพในใจเหล่านั้นมาผสมผสานกับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น  ทำให้เกิดกระบวนการคิดในเชิงของเหตุผลได้มากขึ้น
                                7.  รู้จักการพึ่งตนเอง  ทั้งนี้เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการอิสรภาพ  ต้องการแสดงความคิดและวางแผนโครงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง  เด็กวัยรุ่นมักจะคิดว่าตัวเองนั้นโตมากแล้ว  ไม่ต้องการให้ใครปฏิบัติต่อเขาเหมือนเด็ก ๆ
                                8.  การรู้จักการปรับตัวทางความคิด  เด็กวัยรุ่นสามารถที่จะปรับตัวเพื่อสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆได้  และช่วยทำงานให้กับสาธารณะประโยชน์ได้  หากได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม
                   จากกระบวนการของการพัฒนาความคิดและเชาวน์ปัญญาดังกล่าว  ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบวิพากษ์  วิจารณ์  ชอบทายการปัญหา  จะมีช่วงความสนใจงานเฉพาะหน้าข่อนข้างสั้น  และทำงานยาก ๆ ไม่ค่อยได้  ดังนั้น  เด็กวัยรุ่นที่มีสติปัญญาสูง  จึงเป็นผู้ที่รู้จักคิดสร้างสรรค์  รู้จักคิดวางแผนถึงอนาคต  มีอารมณ์มั่นคง  กล้าสู้ปัญญา  แก้ไขปัญหาชีวิต  และเหตุการณ์ประจำวันได้อย่างเหมาะสม
                   พัฒนาการทางความคิดและเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยรุ่นจะเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขว้างมากจากการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งทำให้เด็กได้พบปัญหาและคิดค้นวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมจนกว่าผลที่ได้จะเป็นที่น่าพอใจ  แต่การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกนั้น  อาจทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการแก้ไขในอนาคตได้  เช่น  การคบเพื่อนไม่ดี  การประกอบอาชญากรรม  การติดยาเสพติด  ปัญหาเรื่องชู้สาว  และพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมก็ได้  จึงจำเป็นที่วัยรุ่นจะต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจให้มากไม่ตนเองให้คล้อยตามอารมณ์โดยขาดความยับยั้งชั่งใจ  และขณะเดียวดันผู้ใหญ่ก็ต้องมีความเข้าใจในความคิดของวัยรุ่น  และช่วยให้พัฒนาการทางความคิดและเชาวน์ปัญญาของวัยรุ่นพัฒนาไปในทางที่ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
5.) พัฒนาการด้านศีลธรรม
                ความเข้าใจและการปฏิบัติในเรื่องของความดี  ความชั่ว  ทำให้มนุษย์มความแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น ๆ  มีความสามารถในการที่จะอยู่รวมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข  ซึ่งถ้าหากสังคมปราศจากสิ่งเหล่านี้แล้ว  ก็จะเกิดความวุ่นวาย  หาความสงบสุขไม่ได้  โดยในช่วงระยะวัยรุ่นนั้นเป็นวัยที่เด็กกำลังสร้างรูปแบบของค่านิยมในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมเฉพาะตนและของสังคม  ซึ่งพบว่าพัฒนาการทางด้านและคุณธรรมจริยธรรมของวัยรุ่นนั้นเป็นผลของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็ก  โดยพบว่าในวัยเด็กเล็ก ๆ นั้น  เมื่อเด็กกระทำการสิ่งใดก็ตาม  ก็มักจะฟังหรือถามจากผู้ใหญ่ก่อนว่าให้ทำเช่นใด  เช่น  ถ้าผู้ใหญ่บอกและดุว่าไม่ให้วิ่งเล่นในบ้าน  ก็จะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม  ถึงแม้จะเป็นไปในช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ตาม  ซึ่งความเชื่อฟังทำตามกฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้น  เป็นเพราะเด็กกลัวการถูกลงโทษ  ในขณะที่โตขึ้นมา   เด็กก็เริ่มที่จะทำตามกฎเกณฑ์ของสังคมมากขึ้น  เนื่องจากมีความมุ่งหวังบางสิ่งบางอย่างที่เข้ามาแทนที่ความกลัวการถูกลงโทษ  เช่น   หวังจะได้รับคำชมเชย  หรือรางวัลอื่น ๆ  จากผูใหญ่หรือบุคคลรอบข้าง
                แต่ในที่ขณะวัยรุ่นนั้น  พัฒนาการทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมจะเป็นไปเนื่องจากการอยากเป็นคนดี  หรืออยากได้รับความนิยมชมชอบจากบุคคลรอบข้างมากกว่า  มีความรู้สึกว่าถ้าตนเองกระทำสิ่งที่ดีงามแล้ว  ตนเองจะเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น  โดยเฉพาะบุคคลที่ตนเองรักและให้ความสำคัญ  เช่น  บิดา  มารดา  เพื่อน  ครู  หรือแม้กระทั่งคนรักของตนเอง  ดังนั้นในช่วงระยะตนของการเป็นวัยรุ่นนั้น  พัฒนาการทางด้านคุณธรรมและจริธรรม  จึงเป็นไปเพื่อการให้เกิดการยอมรับจากบุคคลอื่น  เกิดจากความต้องการความรักและเอื้ออาทรจากผู้อื่นเป็นสำคัญ  แต่เมื่อวัยรานโตขึ้น  มีอายุมากขึ้น  กำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ (ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย)  พัฒนาการทางด้านคุณธรรมและจริยธรรรมของวัยรุ่นก้จะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง  โดยพบว่า  วัยรุ่นจะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดก็ตาม  จะเป็นผลที่เนื่องมาจากการเชื่อถือตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  หรือระเบียบของสังคมที่ตัววัยรุ่นเองอาศัยอยู่สำคัญ  เนื่องมาจากความมุ่งหวังที่จะให้สังคมเป็นปกติสุขมากกว่าการที่จะมุ่งหวังให้บุคคลอื่มมาชื่นชอบการกระทำของตนเอง (Kohlberg อ้างอิงจาก Gormly  and  Brodzinsky . 1989:243)
                พัฒนาการด้านคุณธรรมและจริยธรรมของวัยรุ่นในแต่ละคนนั้นอาจจะไม่เท่าทียมกันทุกคน  บางคนอาจจะมีพัฒนาการในด้านนี้สูงกว่าอีกคนหนึ่งก็ได้  เช่น เราอาจจะพบว่าวัยรุ่นบางคนก็รู้จักที่จะแสวงหาเหตุผลหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ  ในการตอบคำถามแก่ตัวเองว่า  กระทำสิ่งนั้น  สิ่งนี้หรือไม่  ถ้าไม่ดีจะต้องทำประการใด  ในขณะที่บางคนก็ยังไม่สามารถก้าวพ้นพัฒนาการทางคุณธรรมและจริยธรรมในวัยเด็กมาได้ก็มี  เหล่านี้เป็นต้น  ซึ่งพัฒนาการทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมนี้จะเกิดขึ้นนัยรุ่นมากน้อยเพียงใด ส่วนหนึ่งนั้นก็เนื่องมาจากการปลูกฝังในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมของครอบครัว  และสังคมรอบข้างตัวของวัยรุ่นเองเป็นสำคัญนั่นเอง
6) การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศ
            การเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น อันเป็นผลมาจากฮอร์โมน ทำให้เกิดพัฒนาการทางเพศในวัยรุ่นขึ้น อิทธิพลของฮอร์โมนเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคต่าง ๆ นอกจากนั้นยังไปกระตุ้นจิตใจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า แรงขับทางเพศ (sexual drive) เกิดขึ้น
                วัยรุ่นจะเป็นวัยที่มีพลังงานทางเพศมากขึ้น ทำให้วัยรุ่นสนใจในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของตนเองมากขึ้น เช่น การแข็งตัวของอวัยวะเพศ การมีประจำเดือน ฯลฯ และอาจจะลงมือทดลองทำพฤติกรรมทางเพศด้วยความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น ตื่นเต้น กล้า ๆ กลัว ๆ และเพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงานทางเพศที่มีอย่างล้นเหลือ เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เป็นต้น พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นนั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้
                1.  พฤติกรรมทางเพศกับตนเอง เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการที่วัยรุ่นมีความฝันหรือจินตนากรทางเพศสูง และต้องการผ่อนคลายความรู้สึกตึงเครียดดังกล่าวเหล่านั้น จึงสร้างพฤตกรรมดหล่านี้ขึ้นมา โดยใช้ตนเองเป็นวัตถุเร้าความรู้สึกทางเพศให้ถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ พฤติกรรมที่พบบ่อย ๆ คือ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติของวัยรุ่น หากไม่หมกมุ่นจนมากเกินไป
                2.  พฤติกรรมทางเพศกับเพศเดียวกัน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการรักร่วมเพศ หากแต่พบว่าในวัยรุ่นตอนต้นนั้นพบว่า เด็กวัยรุ่นจะเริ่มเปลี่ยนวัตถุที่เร้าความรู้สึกทางเพศจากตนเองไปเพื่อนเพศเดียวกัน เริ่มทีความสนใจว่าเพื่อนของเราทำไมมีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นนั้น เช่นอาจจะพบเด็กวัยรุ่นชายที่นิยมออกกำลังกาย เพื่อให้มีรูปร่างกำยำมากขึ้นแบบเดียวกับเพื่อนของตนเอง หรือเด็กวัยรุ่นหญิงที่เริ่มสนใจรูปร่างหน้าตาของเพื่อนในกลุ่มตนเอง และอยากจะมีรูปร่าง สัดส่วน สวยงามเหมือนเพื่อนในกลุ่มมากขึ้น พฤติกรรมความสนใจในเรื่องของเพศเดีนวกันนี้จะค่อย ๆ คลี่คลายเมื่อวัยรุ่นมีอายุมากขึ้นและเริ่มที่จะสนใจในเพศตรงข้ามแทน (ยกเว้นในกรณีที่ไม่สามารถผลักดันตนเองให้สนใจเพศตรงข้ามได้ก็จะมีพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศเข้ามาแทน)
                3.  พฤติกรรมทางเพศกับคนต่างเพศ ในช่วงวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย เด็กจะเริ่มมีความสนใจต่อเพื่อนต่างเพศมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจว่าเป็นความถูกต้องทางสังคม และเป็นทางที่เขาจะสามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างเปิดเผย เป็นการลดความคับข้องใจลง วัยรุ่นจะมีพฤติกรรมและกิจกรรมทางเพศมากขึ้น อยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง พฤติกรรมที่พบบ่อย เช่น การแอบดูหนังสือโป๊ วีดีโอ หรือวีซีดีโป๊ หรือแม้แต่การพยายามทำตัวหรือแต่งตัวให้เด่น เพื่อให้เพศตรงข้ามสนใจ การคบเพื่อนต่างเพศเป็นต้น
สรุป
                วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ความคิด เชาวน์ปัญญา ศีลธรรม และพัฒนาการทางเพศในการที่จะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นเป็นไปอย่างเหมาะสม จึงจำเป็นที่ผู้ใหญ่จะต้องให้การยอมรับและให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ความรัก ความเข้าใจกับเด็กวัยรุ่น รู้จักปลูกฝังและถ่ายทอดค่านิยมที่เหมาะสมพฤติกรรมต่าง ๆ เข้าหาผู้ใหญ่และสังคมมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อกาเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยต่างๆ
1.การเจริญเติบโตและพัฒนาการในแต่ละช่วงของชีวิต
                การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์นั้น เริ่มเกิดขึ้นนับตั้งแต่การที่มนุษย์เกิดการปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของมารดา โดยที่การปฏิสนธิ (Conception)  จะหมายถึง  การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธ์ของพ่อกับเซลล์ของแม่ คือไข่ รวมเป็นเซลล์เดียวกัน เกิดการปฏิสนธิเกิดขึ้นและการปฏิสนธิของมนุษย์นั้น จะทำให้ได้เซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าข่ใบเดิม กล่าวคือมีขนาดประมาณ 0.15 มิลลิเมตร

2. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในช่วงวัยต่างๆ
                การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วงชีวิตนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจ้ยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
                1.ปัจจัยภายใน หมายถึง ปัจจัยที่มีอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นภายในร่างกายของมนุษย์ แล้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ เช่น พันธุกรรม พื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจ เป็นต้น
                2.ปัจจัยภายนอก หมายถึง ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกร่างกายของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ทั้งโดยธรรมชาติ หรือไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แล้วส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคม การเลี้ยงดูของผู้ปกครอง อาหารที่บริโภค การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุที่ได้รับ เป็นต้น
                2.1 ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
                1) พันธุกรรม หมายถึงการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน เป็นกรสืบเนื่องลักษณะต่างๆที่เป็นลักษณะประจำตัว ทำให้มนุษย์มีลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันออกไป  พันธุกรรมจึงเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตลักษณะและความสามารถของบุคคลได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบ่งออกเป็น  2  ทางคือ
                1.1)ลักษณะทางกาย ได้แก่
                                1. สัดส่วนของร่างกาย ความสูงหรือเตี้ยเป็นผลส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม เช่น พ่อ แม่เตี้ย อาจทำให้ลูกที่เกิดมาเตี้ยไปด้วย (ในปัจจุบัน พบว่าสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น  การบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายมีผลต่อสัดส่วนของร่างกายมากกว่าพัธุกรรม
2. รูปลักษณะทางกาย เช่น ผมหยิก ตาเล็ก สีของตา สีของผม เป็นต้น
3. กลุ่มเลือด ลูกที่เกิดจากพ่อแม่คู่ใดย่อมได้รับการถ่ายทอดชนิดของกลุ่มเลือดจากพ่อแม่คู่นั้น
4. เพศ ทารกที่เกิดมาจะเป็นเพศหญิงหรือชาย ขึ้นอยู่กับโครโมโซมเพศที่ได้รับจากพ่อม่โดยพบว่าเพศชาย จะมีโคโมโซมเป็น xy เพศหญิงจะมีโครโมโซม xx นั่นคือ 
ไข่ (x) +อสุจิ (y) = ลูกชาย
ไข่ (x) +อสุจิ (x) = ลูกสาว
5. ความผิดปกติและโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซิเมีย (Thalassemia) โรคด่างขาว โรคผิวหนังเกล็ดปลา ภาวะเลือดออกแล้วหยุดยาก หรือที่เรียกว่าฮีโมฟีลเลีย (Hemophilia) หรือภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D เหล่านี้เป็นต้น
1.2)ลักษณะทางสติปัญญา  การถ่ายทอดพันธุกรรมด้านสติปัญญาหรือความสามารถของสมองนั้น  เชื่อว่ามีเกิดขึ้นได้โดยพบว่าเด็กที่เกิดในตระกูลที่มีระดับสติปัญญาต่ำ  จะมีเชาว์ปัญญาต่ำไปด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะพบว่าอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระตุ้น และการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของเด็กในกลุ่มที่ด้อยโอกาส ทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน
                2) พื้นฐานทางอารมณ์ จิตใจ อารมณ์นั้นเป็นผลเนื่องมาจากพันธุกรรมและปัจจัยแวดล้อมภายนอกประกอบกัน  ในบุคคลที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคง  จะทำให้มีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม บุคลิกภาพ ทางด้านจิตวิญญาณ รวมถึงทางด้านร่างกายด้วยพบว่ามารดาที่มีการฟังเพลงเบาๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้บุตรที่เกิดมามีอารมณ์ดี และมีพัฒนาการทางด้านต่างๆที่เป็นไปด้วยดี
2.2 ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
                                1) สถาพแวดล้อมทางสังคม เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตละพัฒนาการของมนุษย์ในทุด้าน หากมนุษย์อยู่ในสภาพทางสังคมที่ดี เอื้ออำนวยต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ก็จะทำให้มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ บุคลิกภาพและด้านอื่นๆ ได้ดีด้วย โดยที่สภาพแวดล้อมทางสังคมนั้นรวมถึงวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนวิถีชีวิตที่บุคคลต้องเผชิญอยู่ด้วย  หากบุคคลที่ต้องอยู่ในสภาพสังคมที่ไม่เหมาะ เช่นอยู่ในสังคมแออัด  หรืออยู่ในครอบครัวที่แตกแยก  ก็ย่อมที่จะทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านต่างๆ ไม่สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนที่ควรจะเป็นได้
                                2)การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง  สัมพันธภายในครอบครัวเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของมนุษย์ โดยในวัยแห่งการค้นหา คือวัยทารก วัยเด็ก ก็จะทำให้เด็กสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อม  และมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมในการดำรงชีวิตต่อไป  ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครอบครัว  จะต้องมีบทบาทมากขึ้นในการอบรมเลี้ยงดูและสร้างความเข้าใจ  ตลอดจนรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น  ปัญหาการมั่วอบายมุขของวัยรุ่น  ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น
                                3)อาหารที่บริโภค ในปัจจุบันพบว่าเรื่องของโภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านร่างกาย ซึ่งแต่เดิมมีความเชื่อว่าพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดว่ามนุษย์จะมีการเจริญเติบโตเป็นอย่างไรเป็นหลัก หากแต่ในปัจจุบัน พบว่าการมีภาวะโภชนาการที่ดี มีการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะแก่ความต้องการของร่างกาย จะทำให้มนุษย์มีการเจริญเติบโตมากขึ้นได้ เช่น ชาวญี่ปุ่น  ซึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวเล็กว่าคนไทย แต่ปัจจุบันสูงใหญ่กว่าคนไทยมาก เนื่องจากมีการปรับปรุงรูปแบบของอาหารที่บริโภค เน้นภาวะโภชนาการที่เหมาะสม เป็นต้น
                                4)การเจ็บป่วยหรือุบัติเหตุ เป็นภาวะที่เป็นตัวขัดขวางทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการต่างๆ เกิดการหยุดชะงัก ทั้งในลักษณะชั่งคราวหรือถาวร การเจ็บป่วยหรือการเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้เกิดความพิการทางร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมรอบข้างด้วย ผลกระทบเหล่านี้ จะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่  จนในที่สุดจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์  ดังนั้นบุคคลจึงควรมีความระมัดระวังในการดูแลสุขภาพของตนเองไม่ให้เจ็บป่วย  และไม่ประมาทจนเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

4. สรุป
                การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์  เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาและมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  หากแต่จะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละช่วงวัย  โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย  ซึ่งปัจจัยภายในที่อิทธิพลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์  คือ  พันธุกรรม  รวมถึงพื้นฐานทางอารมณ์หรือจิตใจ  ในขณะที่ปัจจัยภายนอกก็นับได้ว่าเป็นปัจจัยเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์เช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม  การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง  อาหารที่บริโภค  การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ  ฯลฯ  ซึ่งในบางกรณีนั้น  พบว่าปัจจัยเหล่านี้อาจจะมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์มากกว่าปัจจัยภายในอีกด้วย  และโดยส่วนใหญ่แล้ว  การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์นั้นจะถูกควบคุมหรือขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายประกอบกันขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละช่วงวัยของชีวิต  ปัจจัยใดจะมีอิทธิพลมากกว่ากัน
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ
คนทุกคนต้องผ่านวัยต่างๆ มาตามขั้นตอนตามลำดับ วัยทองและวัยสูงอยุจึงควรเป็นวัยที่ต้องดูแลสุขภาพดีเช่นเดียวกับวัยอื่นๆเนื่องจากความเสื่อมของระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งสภาพจิตใจอารมณ์ สังคม การรู้จักเตรียมความพร้อมของตนเองล่วงหน้าก่อนเข้าถึงวัยทอง และวัยสูงอายุ จะเป็นการช่วยลดภาวะความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ และช่วยทำให้ดำเนินชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่างมีความสุข
ความหมายของ วัยทอง และ วัยสูงอายุ
                วัยทอง หมายถึง บุคคลที่มีอายุมากกว่า 40ปี ขึ้นไปทั้งเพศชายและเพศหญิง เป็นวัยแห่งความสำเร็จทั้งชีวิตครอบครัว และหน้าที่การงานเป็นส่วนฬหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทองของชีวิต
แต่ด้วยอายุที่สูงขึ้นอาจมีปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
                วัยสูงอายุ หมายถึงบุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายหญิงเป็นวัยที่มีภาวะการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมของวัยทางด้านร่างกาย สังคมเป็นวัยที่เกษียณจากการทำงานด้วยความสามารถในการปฏิบัติงานนลดลงแบ่งได้ 3 กลุ่มตามอายุและภาวะสุขภาพดังนี้
                1. ผู้สูงอายุระดับต้นมีอายุระหว่าง 60-70ปีระดับนี้สภาวะทางร่างกายยยังไม่เปลี่ยนแปลงมากยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆละช่วยเหลือตัวเองได้เป็นส่วนใหญ่
                2. ผู้สูงอายุระดับกลางมีอายุระหว่าง 71-80ปีระดับนี้สภาวะทางร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทำให้การดูแลช่วยเหลือตนเองบางอย่างบกพร่อง เริ่มที่จะต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
                3. ผู้สูงอายุระดับปลายมีอายุตั้งแต่80ปีเป็นขึ้นไประดับนี้สภาวะทางร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นได้ชัด บางคนช่วยเหลือต้วเองไม่ได้และจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากผู้อื่น
                2.ลักษณะการเจริญเติบโตและความเสื่อมของผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ
                การเจริญและพัฒนาการของบุคคลอยู่ในขั้นของการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ไปสู่ความเสื่อมตามธรรมชาติและธรรมดาของคนดังคำกล่าวที่ว่า เกิด แก่ เก็บ ตาย ภาวะความเสื่อมนี้สามารถป้องกันและชะลอให้เกิดภาวะสมดุลได้ถ้ารู้จักการปรับตัว ซึ่งสามรถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.2 ลักษณะการเจริญเติบโตและความเสื่อมของผู้ใหญ่วัยสูงอายุ
2.1 ลักษณะการเจริญเติบโตและความเสื่อมของผู้ใหญ่วัยทอง
3.สรุป

                ผู้ใหญ่วัยทองและผู้ใหญ่วัยสูงอายุจะมีสุขภาพดีและมีความสุขถ้ามีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีมาตั้งแต่เยาว์วัย การรู้จักเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อเข้าสู่วัยทอง และวัยสูงอายุอย่างมีคุณค่าสำหรับตนเอง ครอบครัวชุมชน และสังคมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะบุคคลดังกล่าว เป็นบุคคคลที่มีคุณค่าของสังคม เป็นผู้ดูแล และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคน การเรียนรู้ การปรับตนให้เหมาะสมต่อการเลี่ยนแปลงของวัย จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ปัจจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุ
                ผู้ใหญ่วัยทองและวัยผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีคุณค่าแก่ครอบครัวและสังคม เพราะเป็นบุคคลที่เคยดูแลสมาชิกในครอบครัวในบทบาทและฐานะผู้นำครอบครัว ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาสังคมประเทศชาติมาก่อน การที่บุตรหลานให้ความดูแล เอาใจใส่ เกื้อกูลบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุเป็นการแสดงถึงผู้มีกตัญญูกตเวทีที่สังคมไทยให้การยกย่องและยอมรับ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกำลังใจ อันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อสุขภาพกาย จิต และสังคม
1.ปัจจัยที่ผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ใหญ่วัยทองและววัยสูงอายุ
                1.พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษ เช่น รูปร่าง หน้าตา สติปัญญา หรือความบกพร่องพิการ เช่น ตาบอดสี โรคจิต โรคประสาท โรคเบาวาน โรคไต เป็นไต เป็นต้น
                2.สิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์จนคลอด การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ทั้งทางกายและจิต นักเรียนจะเห็นว่าปัจจัยทั้ง/ มีผลกระทบตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยสูงอายุ เนื่องจากถ้าบุคคลได้รับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องตั้งแต่เตรียมตัวในการเริ่มต้นครอบครัว พร้อมทั้งมีการส่วเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องย่อมจะส่งผลต่อคุณภาพชิวิต ขณะเดียวกันในผู้ใหญ่วัยทองแบะวัยสูงอายุ ยังพบว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพัฒนาการที่สำคัญประกอบด้วยปัจจัย 3 ประการ คือ ปัจจัยเกี่ยวกับตนเอง ปัจจัยเกี่ยวกับครอบครัว ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
                1.ปัญหาเกี่ยวกับตนเอง เป็นปัจจัยในตัวบุคคล เนื่องจากเป็นช่วงวัยผู้ใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุที่ต้องเผชิญความสูญเสีย ความกลัว ความตาย การช่วยเหลือตนเองเองไม่ได้ การไร้งานทำ การถูกลดบทบาท ซึ่งปัญหาบางอย่างมีผลกระทบต่อวัยนี้เป็นอย่างยิ่ง
1.1ปัญหาสุขภาพทางร่างกาย พบได้บ่อยได้ทั้งในวัยวัยผู้ใหญ่วันทอง และวัยผู้สูงอายุอาจเป็นการป่วยโรคต่างๆดังนี้
                1.ตาเป็นต้อกระจก ต้อหิน หูตึง ลิ้นรับรสได้ไม่ดี
                2.โรคมะเร็งต่างๆ ที่พบบ่อย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก เร็งรังไข่ เป็นต้น
                3.โรคคคควววามดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน
                4.ภาวะความเสื่อมของฮอร์โมน ทำให้กระดูกพรุนทั้งเพศชายและหญิง ฮอร์โมนเพศลดลง
5.ภาวะสมองเสื่อมหลงลืม ความจำเสื่อม
6.ความพิการจากการเสิ่อมของอวัยวะ หรืออุบัติเหตุจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้
7.สมรรถภาพทางร่างกายเสื่อมกล้ามเนื้อหย่อนยาน ข้อต่อเอ็นเสื่อม ทำให้เคลื่อนไหวช้าลง ความต้องการทางเพศลดลง
8.สภาพการปรับตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตนเองด้านการอาบน้ำ ทำอาหาร การรับประทานอาหาร การขับถ่าย และการแต่งกาย
                1.2 ปัญหาสุขภาพทางจิต วัยทองและวัยสูงอายุมักมีปัจจัยที่มีผลกระทบที่จะต้องเผชิญต่อสภาพทางจิตใจ อารมณ์กับภาวะความรู้สึกต่างๆ ดังนี้
                                1.ความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ อ้างว้าง ถูกทอดทิ้ง การพลัดพรากจากบุคคลที่รัก
                                2.ความรู้สึกไม่มั่นใจ มีความหงุดหงิด โกรธง่ายโมโหง่าย ใจน้อย ฉุนเฉียว ย้ำคิดย้ำทำ ชอบวุ่นวายกับบุลใกล้ชิด ทำให้เกิดความขัดแย้งกับบุคคลในครอบครัว
                                3.ความรู้สึกหดหู่ เศร้าใจ ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถีงขั้นรุนแรง ทั้งการสูญเสียจริงและคิดจินตนาการเอง เช่น การสูญเสียสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย บุคคลที่รัก ตำหน้าที่การงาน คุณค่าในตนเอง เป็นต้น
                                4.ความรู้สึกหมดหวัง สิ้นหวังจากสภาพความเสื่อมของสมรรถภาพทางร่างกายและจิต ทำให้รู้สึกโกรธตนเองและซึมเศร้า
                                5.ความรู้สึกกลัวเสียชีวิต เนื่องจากการเจ็บป่วยบ่อยขึ้น
                                6.คววามเป็นห่วงทรัพย์สิน วิตกกังวล หวงแหน
                                7.สภาพการปรับตัวในชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตนเอง เป็นต้น

                2.ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
                                1.ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว เช่น บ่น จู้จี้ จุกจิก เก็บตัว เงียบขรึม เอาแต่ใจตนเอง เนื่องจากความสูญเสียความมั่นใจในตนเอง ทำให้รู้สึกคิดมาก วิตกกังวล เศร้าใจ เสียใจ น้อยใจ
                                2.ความรู้สึกว่าบุคคลในครอบครัวทอดทื้ง เช่น ต้องอยู่เฝ้าบ้านคนเดียว โดยที่บุคคลอื่นในครอบครัวอาจจะออกไปทำงานนอกบ้าน หรืใปโรงเรียน เป็นต้น
                                3.ความรู้สึกว่าบุตรหลานไม่เชื่อฟังเหมือนเดิม เช่น บอกให้ทำอะไรหรือให้ปฏิบัติตัวอย่างไรบุตรหลานก็ไม่สามารถทำตามได้ อาจเนื่องจากสภาพสังคมหรือถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในตนละช่วงคนละสมัยจึงดำเนินชีวิตไม่เหมือนกัน เป้นต้น
                3.ปัญหาเกี่ยวกับสังคม ช่วงวัยทองและวัยสูงอายุจะพบปัญหาการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพต่างๆ ดังนี้
                                1.เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่รายได้ลดน้อยลงเป็นภาระของบุตรหลาน
                                2.ความสัมพันธ์กับเพื่อนและทางสังคมลดลง เนื่องจากสภาพร่างกาย รายได้ เศรษฐกิจการพบปะสังสรรค์น้อยลง หรือเครือข่ายทางสังคมลดลง
                                3.หน้าที่บทบาทลดน้อยลง หมดภาระหน้าที่ตำแหน่งการงาน สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นที่พึ่งของคนอื่น กลายเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น
                                4. ความต้องการช่วยเหลือทางสังคมจากภาครัฐและเอกชน เช่น การได้รับบริการทางาสาธารณสุข การเข้าถึงบริการการรักษาพยาบาล สวัสดิการผู้สูงอายุ ค่ารักษาพยาบาล การเยี่ยมบ้าน การลดหย่อนค่าโดยสารและภาษี การให้ค่าใช้จ่ายประจำเดือน การจัดที่พักอาศัย การจัดสถานที่ออกกำลังกาย การทำประกันสังคม การจัดเครือสร้างเสริมสุขภาพและกิจกรรม เป็นต้น
                                การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยอายุนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาของชีวิต สิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนัก คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ใช่บุคคลด้อยโอกาส หรืดเป็นภาระต่อสังคมถึงแม้ว่าผู้สูงอายุบางคนจะประสบความทุกข์ยากและต้องการการดูแลช่วยเหลือจากครอบครัว สังคมหรือรัฐก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงบางคน และบางช่วงเวลาเท่านั้น เราจึงต้องรู้ เข้าใจ และความดูแลต่อผู้สูงายุ เพราะหากมองย้อนกลับไปแล้ว ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาผู้สูงอายุก็คยเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราและในอนาคตก็ยังเป็นที่พึ่งทางใจให้กักลูกหลานได้จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

 

2.สรุป
                ดอกลำดวนเป็นสัญลักาณ์แทนดอกไม้ของผู้สูงอายุทั้งนี้เพราะดอกลำดวนมีกลีบแข็ง กลิ่นหอมและกลีบไม่ร่วงโรยง่ายเหมือนดอกไม้หอมบางชนิด อีกทั้งยังเป็นใบไม้ไม่ทิ้งใบ จึงมีใบเขียวชุ่มตลอดปีเปรียบเหมือนผู้สูงอายุที่คงความดีงามไว้เป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจแก่บุตรหลาน เป้นร่มเงา ให้ความร่มเย็นเป็นสุข เป็นที่พึ่งให้กับบุตรหลานและผู้อ่อนวัยกว่า ให้คำปรึกษา ให้สิ่งที่ดีงามตามระบอบสังคม วัฒนธรรมที่ถูกที่ควร บุตรหลานจึงควรรัก ดูแล เดาใจใส่ เห็นคุณค่า มีความเข้าใจในสภาพการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อมที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นกำลังใจที่ดี อันจะทำให้ผูใหญ่วัยทองและวัยสูงอายุดำรงชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข
ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1.  พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2.  บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร 
3.  แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4.  มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5.  รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6.  พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร ฐานะผู้ส่งสาร

กลับสู่ด้านบน


© copyright 2009 students.ptpk.ac.th