[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
การพัฒนารูปแบบการสอน ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์   VIEW : 1102    
โดย เยาวเรศ ผิวเหมาะ

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 40%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 159.192.99.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2562 เวลา 22:44:52   




ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านและการเขียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 
ผู้วิจัย เยาวเรศ  ผิวเหมาะ  โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย  2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1)  ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย  (2) สร้างและพัฒนาประสิทธิภาพรูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ตามเกณฑ์ 80/80  (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 273 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย  เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  (1) รูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager)   (2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องนิทานเบิกบานใจ เล่มที่ 2 เรื่องท่องเที่ยวไปเมืองคอนงาม และ เล่มที่ 3 เรื่องสืบสานงานพ่อหลวง  (3) แผนการจัดการเรียนรู้ (คู่มือครู) ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอน ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน  เวลา 12 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและการเขียน  จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัย  มี 3 ตัวเลือก และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการทดสอบจนมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพ 80/80  (E1/E2) และการทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างมีกลุ่มเดียว  (T-Test  Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
             1. ผลจากการศึกษาสภาพปัญหาด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย  พบว่า  1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  2) นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษาไทย ไม่สนใจเรียน สาเหตุหนึ่งมาจากการอ่านหนังสือไม่ออก/ อ่านไม่คล่อง  และเขียนไม่ถูกต้อง 3) ครูสอนบรรยายถ่ายทอดความรู้ ขาดการฝึกทักษะการปฏิบัติการอ่านและการเขียนอย่างต่อเนื่อง และการทำงานกลุ่มร่วมกัน ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  4) ครูไม่ใช้สื่อการเรียนการสอนจึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  แต่ใช้หนังสือเสริมของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน  5) ครูใช้วิธีการวัดผลด้วยแบบทดสอบเพียงอย่างเดียวแล้วนำมาตัดสินผลการเรียนไม่เน้นทักษะกระบวนการหรือชิ้นงานของนักเรียน  6) ความสามารถด้านทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากผลการทดสอบวัดความรู้  ปีการศึกษา 2560 พบว่า การอ่านออกเขียนได้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 50.12 ระดับปานกลาง 40.50  และอ่านไม่ออก/ ไม่คล่องเขียนไม่ถูกต้องร้อยละ 9.38  ประเด็นหนึ่งมาจากนโยบายการจัดการศึกษาของทางเทศบาลซึ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาการ ทำให้ครูทุกคนมุ่งสอนให้จบเพื่อการแข่งขันอย่างเดียว  และผลจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน  นักเรียน  และครูภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีปัญหาการอ่านมากที่สุด  รองลงมาคือการเขียน  และด้านหลักภาษาและคำศัพท์  ส่วนปัญหาด้านการพูดและการฟังมีปัญหาน้อยมาก  ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนก็คือ  การสร้างสื่อการสอนที่มีความสอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียน  ประเภทรูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับนิทาน  บทความ  หรือเรื่องราวในท้องถิ่นของนักเรียน
             2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 เรียกว่า  “LGPAS  Model” ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  (Lead  in)  2) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม  (Group)  3) ขั้นนำเสนอผลงาน (Present)  4) ขั้นนำไปใช้  (Apply)  และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Sum up and evaluate)  และรูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของ
เยเกอร์ (Yager)  มีประสิทธิภาพโดยรวม  เท่ากับ 81.24/83.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80
              3. ผลการใช้รูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านและการเขียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
              4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมในระดับมาก 4.48  และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการสอน  ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ของเยเกอร์ (Yager) โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด 4.51