[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
 
 
 
เมนูหลัก
กลุ่มสาระการเรียนรู้
แหล่งเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 

ลิงค์ที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ  VIEW : 1187    
โดย นางสาวเจตสริน ชูศรี

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 20%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 1.47.103.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 23:20:49   

ชื่อวิจัย  การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “ มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ ” โดยใช้การเรียนรู้                    แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)  เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด 
                    ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย  นางสาวเจตสริน  ชูศรี    
ปีการศึกษา  2560


บทคัดย่อ

การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  (3) เพื่อทดลองใช้และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ”  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ”  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ จำนวน 37 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) โดยจัดนักเรียนคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ (1) ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาขึ้น จำนวน 3 ชุดการเรียน  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  จำนวน 24 แผน เวลา 24 ชั่วโมง  (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน      50 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( )  ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบที  (t - test)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ พบว่า นักเรียนขาดทักษะทางคณิตศาสตร์ และมีความรู้พื้นฐานในระดับต่ำ ไม่สามารถค้นพบหรือสรุปกฎเกณฑ์เองได้  และไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง  ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาคือ (1) ผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดคือร้อยละ 75  (2) นักเรียนขาดความสนใจ หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์  (3) นักเรียนคิดและแก้ปัญหาโจทย์ไม่เป็น คิดช้า  เพราะขาดการฝึกฝน โดยเฉพาะเรื่องทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม        (4) ขาดทักษะการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และขาดทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (5) สื่อการสอนที่นำมาใช้ ไม่สามารถตอบโจทย์ของปัญหาได้ เพราะไม่ตรงประเด็นตามตัวชี้วัด      
2. ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ” โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.45/85.05  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนคณิตศาสตร์  “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ”  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01       
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนคณิตศาสตร์ “มาเรียนรู้ทศนิยมกันเถอะ”  โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด







Re หัวข้อ :
รูปประกอบ : จำกัดขนาด 100 KB *เฉพาะไฟล์ .jpg, .jpeg, .gif หรือ .png เท่านั้น
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :